สารบัญ

หนังสือเล่มนี้มีจำนวนเนื้อหา 15 บท

บทที่ 1 หลักการและแนวคิดการบริหารโครงการ

การจะสร้างโครงการต่างๆ ให้สำเร็จได้นั้น จะต้องเกิดจากการวางแผน การบริหาร และการจัดการในส่วนต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยรายละเอียดมากมาย เช่น การวางแผนงาน, การแบ่งผู้รับผิดชอบงาน, การติดตามการทำงาน รวมไปถึงการควบคุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด เป็นต้น โดยอาจมีรายละเอียดของโครงการแตกต่างกันไป ซึ่งก่อนจะไปถึงจุดนั้น เรามาเริ่มปูพื้นฐานในการบริหารโครงการกันก่อนว่าต้องทำอย่างไรกันบ้าง

  • ปูพื้นฐานก่อนทำโครงการ
  • แนวทางการสร้างโครงการ
  • องค์ประกอบของโครงการ
  • การบริหารและจัดการโครงการ
  • คุณสมบัติของโครงการที่ดี
  • ประโยชน์ของการจัดทำโครงการ
  • วงจรชีวิตของโครงการ (Project Life Cycle)
  • ข้อแนะนำในการจัดทำโครงการ

บทที่ 2 รู้จักโปรแกรม Microsoft Project 2019

ในบทนี้จะมาแนะนำส่วนประกอบต่างๆ รวมถึงความสามารถใหม่ๆ ของโปรแกรม Microsoft Project 2019 เพื่อที่จะได้รู้จักรายละเอียดและหน้าที่ของเครื่องมือที่มีให้ใช้งาน ก่อนที่จะนำโปรแกรมไปสร้างและบริหารจัดการโครงการในลำดับต่อไป

  • แนะนำโปรแกรม Microsoft Project 2019
    • เวอร์ชันของโปรแกรม Microsoft Project 2019
    • ความต้องการของระบบ
  • คุณสมบัติใหม่ใน Microsoft Project 2019
  • ส่วนประกอบของ Microsoft Project 2019
  • ชุดเมนูคำสั่งที่จำเป็นใน Microsoft Project 2019
    • แท็บเมนู File
    • แท็บเมนู Task
    • แท็บเมนู Resource
    • แท็บเมนู Report
    • แท็บเมนู Project
    • แท็บเมนู View
    • แท็บเมนู Format
    • วิธีซ่อนแถบริบบอน (Ribbon)
  • ชุดเครื่องมือลัด Quick Access Toolbar
    • เพิ่มและลบปุ่มเครื่องมือบน Quick Access Toolbar
    • ย้ายตำแหน่ง Quick Access Toolbar

บทที่ 3 พื้นฐานการสร้างโครงการ

ในบทนี้มาเริ่มต้นการใช้เครื่องมือต่างๆ ในโปรแกรม Microsoft Project เพื่อสร้างโครงการ เช่น การเปิดโครงการ, การสร้างไฟล์โครงการใหม่, การบันทึกไฟล์, การปรับเปลี่ยนมุมมองของงาน, การตั้งค่าในโปรแกรมให้เหมาะสม รวมถึงการบันทึกไฟล์แบบต่างๆ นอกจากนี้ยังเลือกจัดเก็บไฟล์โครงการไว้บนวันไดรฟ์ (OneDrive) เพื่อแชร์หรือทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ได้อีกด้วย

  • การเปิดโครงการ
    • การกำหนดโครงการ
    • วางแผนการดำเนินการ
  • สร้างโครงการใหม่
    • สร้างโครงการใหม่ (Blank Project)
    • สร้างโครงการใหม่ด้วยแม่แบบออนไลน์ (Online Templates)
    • ค้นหาแม่แบบออนไลน์
    • ตัวอย่างแม่แบบออนไลน์
  • ปรับตั้งค่าเครื่องมือในโครงการ
  • บันทึกไฟล์โครงการ
  • ปรับเปลี่ยนมุมมองในการนำเสนอโครงการ
    • มุมมอง Calendar
    • มุมมอง Gantt Chart
  • ปรับแต่งลักษณะการนำเสนอโครงการ
    • ติดตั้งเครื่องมือ Gantt Chart Wizard
    • ปรับแต่งลักษณะ Gantt Chart ด้วย Gantt Chart Wizard
    • ปรับเปลี่ยนรูปแบบของแกนเวลา
  • ปรับแต่งหน้าต่าง Timeline
    • ซ่อน/แสดงหน้าต่าง Timeline
    • จัดการ Timeline แบบอื่นๆ
  • จัดการไฟล์โครงการบนบริการ OneDrive
    • ล็อกอินเข้าใช้งาน Project ด้วย Microsoft Account
    • บันทึกไฟล์โครงการใน OneDrive
  • Workshop ท้ายบท
    • กำหนดโครงการวางแผนแต่งงาน
    • วางแผนการดำเนินการ
    • สร้างไฟล์
    • บันทึกไฟล์

บทที่ 4 ลงมือจัดการโครงการ

ในบทนี้จะเป็นการลงมือสร้างโครงการและจัดการกับไฟล์โครงการในลักษณะต่างๆ เช่น การสร้างปฏิทินขององค์กร, การนำปฏิทินไปใช้กับโครงการอื่น, การกำหนดเงื่อนไขการทำงาน, การกำหนดจุดแสดงความคืบหน้า และการสร้างโครงการแบบกำหนดวันเริ่มต้นหรือวันสิ้นสุด เป็นต้น

  • การเปิดโครงการ
  • สร้างปฏิทินสำหรับโครงการ
  • กำหนดตารางการทำงาน
  • กำหนดวันหยุดพิเศษ
  • กำหนดเงื่อนไขวันทำงาน (กรณีพิเศษ)
  • สร้างโครงการแบบกำหนดวันเริ่มต้น
  • กำหนดโหมด Manual Scheduled และ Auto Scheduled
  • กำหนดหน่วยเวลา
  • กำหนดจุดแสดงความคืบหน้า (Milestone)
    • สร้าง Milestone
    • สร้าง Milestone ที่มีค่ามากกว่าศูนย์
  • การเลื่อนงาน
  • เขียนโน้ตงาน
  • การคัดลอกข้อมูล
  • การย้ายงาน
  • แทรกงานใหม่
  • การลบงาน
  • ยกเลิกงานชั่วคราว
  • เพิ่มคอลัมน์ใน Task Sheet

บทที่ 5 การจัดการงานหลักและงานย่อย

หลังจากสร้างโครงการเสร็จแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการเริ่มลงรายละเอียดของงานว่ามีงานใดต้องทำเป็นประจำเพื่อให้โครงการสำเร็จ รวมถึงการแบ่งงานหลักและงานย่อยออกจากกันเพื่อให้มองเห็นภาพรวมของโครงการ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเลขรายการให้กับงานหลักและงานย่อยเพื่อให้มีความชัดเจนในการทำงานมากขึ้น

  • การกำหนดงานที่ต้องทำเป็นประจำ (Recurring Task)
  • การกำหนดส่วนของงานหลักและงานย่อยในโครงการ
  • การแสดง/ซ่อนงานย่อย (Subtasks)
  • วิธีการแทรกงานย่อยในงานหลัก
  • การแก้ไขงานย่อยบน Gantt Chart
  • Rollup แสดงงานหลักและงานย่อยบน Gantt Chart
  • การแสดง/ซ่อนงานหลัก (Project Summary Task)
  • การกำหนดเลขรายการหลักและรายการย่อย (Outline Number)

บทที่ 6 สร้างความสัมพันธ์ของงาน

หลังจากที่เราได้กำหนดงานหลักและงานย่อยเสร็จแล้ว สิ่งที่ต้องลงมือทำในอันดับถัดไปก็คือ ต้องมีการวางแผนให้แต่ละงานทำงานได้สอดคล้องกัน หรือสร้างความสัมพันธ์ของงานนั่นเอง เพราะหากเรากำหนดลำดับงานได้อย่างชัดเจน ว่างานใดควรทำก่อน-หลัง หรือทำไปพร้อมกันได้ ก็จะช่วยให้เราปรับความยืดหยุ่นของเวลาการทำงานได้ตามต้องการ

  • คำสำคัญที่ต้องรู้
  • การกำหนดรูปแบบของความสัมพันธ์
    • FS (Finish-to-Start)
    • SS (Start-to-Start)
    • FF (Finish-to-Finish)
    • SF (Start-to-Finish)
  • การสร้างเส้นความสัมพันธ์
    • การสร้างเส้นความสัมพันธ์ในหน้าต่าง Task Information
    • การสร้างเส้นความสัมพันธ์ด้วยการลากเมาส์
    • การสร้างเส้นความสัมพันธ์ครั้งละรายการผ่าน Predecessors
    • การสร้างเส้นความสัมพันธ์ครั้งละหลายรายการผ่าน Predecessors
  • การยกเลิกเส้นความสัมพันธ์
    • วิธีที่ 1 คลิกปุ่มเพื่อ Delete
    • วิธีที่ 2 ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงผ่านหน้าต่าง Task Dependency
    • วิธีที่ 3 ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงผ่านหน้าต่าง Task Information
  • การเลื่อนเวลาด้วย Lead Time และ Lag Time
    • ร่นเวลาเข้า (Lead Time)
    • เลื่อนเวลาออก (Lag Time)
  • รวมงานหลักและงานย่อยด้วย Roll up Gantt bars
  • วิธียกเลิกการใช้ Roll up Gantt bars

บทที่ 7 กำหนดเงื่อนไขให้โครงการ

นอกจากการจัดลำดับงานที่ดีจะช่วยให้งานสามารถเดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่องแล้ว การกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับงานที่ทำยังช่วยให้งานเสร็จสิ้นตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ โดยในบทนี้เราจะได้รู้จักกับประเภทของเงื่อนไข และการแบ่งกลุ่มงานด้วยเงื่อนไขในแบบต่างๆ ด้วย

  • กำหนดประเภทเงื่อนไขของงาน (Task Constraint)
  • กำหนด Task Constraint ในโครงการ
  • ยกเลิกการกำหนด Task Constraint
  • กำหนดเงื่อนไขการจัดแบ่งกลุ่มงาน
    • แบ่งกลุ่มงานแบบเงื่อนไขเดียว
    • แบ่งกลุ่มงานแบบหลายเงื่อนไข
    • ยกเลิกการแบ่งกลุ่มงานแบบหลายเงื่อนไข

บทที่ 8 จัดสรรทรัพยากรให้คุ้มค่า

ทรัพยากรเป็นสิ่งสำคัญที่จะขับเคลื่อนโครงการให้เดินหน้าไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ ในบทนี้จะอธิบายถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรบุคคล, แรงงาน, เครื่องมือ, ค่าใช้จ่าย และต้นทุน ให้อยู่ในแผนงานที่เหมาะสมกับโครงการ รวมถึงการตรวจสอบการใช้งานทรัพยากรในโครงการด้วย

  • กำหนดทรัพยากรให้กับงาน
  • เพิ่มทรัพยากรใหม่ลงในโครงการ
  • กำหนดชื่อย่อและกลุ่มของทรัพยากร
  • สร้างคลังทรัพยากร (Resource Pool)
  • จัดสรรทรัพยากรให้กับงาน
    • จัดสรรทรัพยากรด้วยหน้าต่าง Task Sheet
    • จัดสรรทรัพยากรด้วยหน้าต่าง Assign Resources
  • ยกเลิกการจัดสรรทรัพยากร
  • กำหนดวันเริ่มต้นของทรัพยากร
  • ระบุค่าใช้จ่ายของทรัพยากร
  • กำหนดวิธีชำระเงิน
  • ตรวจสอบการใช้งานทรัพยากรเพื่อความคล่องตัว
    • ตรวจสอบปริมาณการใช้ทรัพยากร
    • ตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรที่ใช้งานเกินขีดจำกัด
    • ตรวจสอบเปอร์เซ็นต์การใช้ทรัพยากรแต่ละชนิด

บทที่ 9 แก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากร

เมื่อจัดสรรทรัพยากรในโครงการเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ก็อาจเกิดปัญหาขึ้นได้ระหว่างที่กำลังทำงาน เราสามารถแก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากรในโครงการโดยใช้เครื่องมือต่างๆ ได้ เช่น Resource Usage หรือ Resource Graph เป็นต้น รวมถึงการใช้วิธีปรับเปลี่ยนแผนงานในโครงการร่วมด้วยอีกทางหนึ่ง

  • ใช้ Resource Usage ตรวจสอบชั่วโมงการใช้งานทรัพยากร
  • ใช้ Resource Graph ตรวจสอบการใช้งานทรัพยากรที่เกินขีดความสามารถ
  • ปรับมุมมองหน้าต่างให้แสดงข้อมูลตามต้องการ
  • แก้ไขปัญหาที่เกิดจากการทำงานและปรับแผนงาน
    • เพิ่มแรงงานให้มากกว่าเดิม
    • ปรับเปลี่ยนวันสิ้นสุด
    • เปลี่ยนชนิดของทรัพยากร
    • ปรับชั่วโมงการทำงานนอกเวลา

บทที่ 10 แก้ไขความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในโครงการ

ทุกโครงการล้วนมีความเสี่ยงที่งานจะเสร็จช้ากว่าที่ตั้งใจเอาไว้ แต่เราสามารถตรวจสอบตารางเวลาในโครงการเพื่อแก้ไขปัญหางานวิกฤต (Critical Tasks) และเส้นทางวิกฤต (Critical Path) ซึ่งในบทนี้จะบอกขั้นตอนที่จะพาโครงการหลีกเลี่ยงจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

  • งานวิกฤต (Critical Tasks) และเส้นทางวิกฤต (Critical Path)
  • แนวทางการป้องกันงานวิกฤต
  • กำหนดรูปแบบของงานวิกฤต
  • วิธีจัดการกับงานวิกฤต
  • การแก้ไขงานวิกฤต
    • ตั้งค่าระยะเวลาให้ลอยตัว
    • เพิ่มจำนวนคนให้มากขึ้น
    • ปรับเปลี่ยนงานในแบบขั้นบันได (Laddering)
    • เพิ่มชั่วโมงทำงานนอกเวลา (Overtime)
    • เพิ่มระยะเวลาลอยตัว (Slack Time)
  • แนวทางการจัดการความเสี่ยง
    • ติดตามความคืบหน้าแบบใกล้ชิด
    • ประเมินความเสี่ยงก่อนที่จะสายเกินไป

บทที่ 11 ติดตามความคืบหน้าและประเมินผล

มาติดตามความคืบหน้าของโครงการได้ด้วย Baseline รวมถึงบันทึกความคืบหน้าของโครงการผ่าน % Complete และการประเมินผลโครงการโดยใช้ Progress Lines หรือ Interim Plan เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานมีความแม่นยำมากที่สุด

  • ประโยชน์ที่ได้รับจากการติดตามโครงการ
  • สร้าง Baseline เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้า
  • กำหนดสถานะวันที่ด้วย Status Date
  • กำหนดความคืบหน้าของงาน
  • ใช้ Resource Usage กำหนดความคืบหน้าของทรัพยากร
  • ตรวจสอบพร้อมกำหนดความคืบหน้างานในแต่ละวัน
  • ตรวจสอบพร้อมกำหนดความคืบหน้าโครงการ
  • บันทึกความก้าวหน้าของโครงการด้วย % Complete
  • ใช้ Progress Lines ตรวจสอบความคืบหน้าหรือความล่าช้าของงาน
    • การอ่านเส้น Progress Lines
    • วิธีลบเส้น Progress Lines
  • เปรียบเทียบแผนงาน ต้องใช้ Interim Plan
  • แสดงภาพรวมโครงการด้วย Project Statistic
  • แสดงช่อง Task Summary Name

บทที่ 12 การกรองและเรียงลำดับข้อมูล

โครงการที่มีขนาดใหญ่ๆ ตัวอย่างเช่น โครงการสร้างบ้าน เราสามารถใช้วิธีการกรองข้อมูลและการเรียงลำดับข้อมูล เพื่อเลือกดูเฉพาะข้อมูลที่ต้องการได้ จะได้ทราบว่าตอนนี้โครงการดำเนินงานสำเร็จไปกี่เปอร์เซ็นต์ หรือใช้งานทรัพยากรไปแล้วเท่าไหร่ จะได้แก้ไขหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับงาน

  • ประโยชน์ที่ได้รับจากการกรองข้อมูล
  • ขั้นตอนการกรองข้อมูลโดยใช้ Filter
    • ยกเลิกการใช้ Filter
    • การใช้ Filter อื่นๆ
  • วิธีกำหนดเงื่อนไขการกรองข้อมูล
  • การกรองข้อมูลด้วย AutoFilter
  • ประยุกต์ใช้งาน Filter และ AutoFilter
  • การจัดเรียงลำดับข้อมูล

บทที่ 13 ควบคุมงบประมาณและค่าใช้จ่ายของโครงการ

งบประมาณ หรือค่าใช้จ่ายของโครงการถือเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะถ้าไม่ควบคุม โครงการของเราอาจมีราคาสูงเกินงบประมาณที่ได้ตั้งเอาไว้ ถ้าเราสามารถควบคุมงบประมาณและค่าใช้จ่ายต่างๆ ในโครงการให้เป็นไปตามแผนงานได้ โอกาสที่โครงการจะประสบความสำเร็จย่อมมีมากขึ้นตามไปด้วย

  • ตรวจสอบค่าใช้จ่ายของโครงการ
    • กำหนดการตรวจสอบงบประมาณ
    • กำหนดการตรวจสอบค่าใช้จ่ายของทรัพยากรต่องาน
    • ยกเลิกการแสดงผลการจัดกลุ่มทรัพยากร
  • กำหนดการตรวจสอบค่าใช้จ่ายทรัพยากรด้วยกราฟ
  • ตรวจสอบข้อมูลทางบัญชีและการเงินด้วย Earned Value
  • ปรับค่าใช้จ่ายให้ตรงกับความเป็นจริง
  • จัดทำข้อมูลเพื่อนำเสนอรายงานทางการเงินด้วยโปรแกรม MS-Excel
  • สร้าง PivotTable สำหรับนำเสนอข้อมูล

บทที่ 14 สร้างรายงานและพิมพ์รายงาน

เมื่อโครงการอยู่ในระหว่างลงมือทำ ผู้บริหารและทีมงานอาจไม่สะดวกที่จะเปิดดูบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเลือกพิมพ์รายงานออกมาเพื่อดูภาพรวมของโครงการทั้งหมดว่ามีข้อมูลใดบ้าง เช่น ความคืบหน้าโครงการ, การดำเนินงาน, ค่าใช้จ่าย หรือทรัพยากรต่างๆ เป็นต้น

  • สร้างรายงานพร้อมพิมพ์ด้วย Report
  • ออกแบบและสร้างรายงานใหม่
  • แสดงชาร์ตแบบ Network Diagram
  • แสดงรายงานบนหน้าจอด้วย Visual Reports
  • การปรับแต่งรายงาน
  • แสดงรายละเอียดข้อมูลด้วย PivotTable
  • สั่งพิมพ์รายงานผ่านพรินเตอร์
  • พิมพ์รายงานในรูปแบบไฟล์ PDF

บทที่ 15 ใช้งาน MS-Project ร่วมกับโปรแกรมและบริการอื่นๆ

เราสามารถใช้ MS-Project ทำงานร่วมกับโปรแกรมและบริการอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น ใช้ร่วมกับ MS-Excel, MS-PowerPoint หรือแบ่งปันข้อมูลโครงการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การซิงค์กับ Project Online และ Project Server Sync รวมถึงการบันทึกไฟล์โครงการในหลายๆ ลักษณะเพื่อนำไปใช้งานตามความต้องการ

  • นำข้อมูลจาก MS-Project ไปใช้ใน MS-Excel
  • นำสไลด์จาก MS-PowerPoint มาใช้งาน
  • ส่งออกข้อมูลโครงการในรูปแบบเอกสาร PDF
  • ส่งออกไฟล์โครงการให้เป็นไฟล์ประเภทอื่นๆ
  • สร้างรหัสผ่านเพิ่มความปลอดภัยให้กับไฟล์โครงการ
  • การซิงค์กับ Project Online และ Project Server Sync
    • วิธีที่ 1 การซิงค์เปิดไฟล์ MS-Project ผ่านเว็บไซต์ SharePoint
    • วิธีที่ 2 การซิงค์ MS-Project ด้วย SharePoint
  • เปิดใช้งานผ่าน Microsoft 365

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง

  • ผู้ที่สนใจการบริหารจัดการโครงการทั้งขนาดเล็ก, ขนาดกลาง และขนาดใหญ่
  • ผู้ประกอบธุรกิจ, ผู้รับเหมา, ผู้จัดการโครงการ และผู้ที่สนใจทั่วไปที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโครงการ
  • นักศึกษาที่ต้องการฝึกทักษะการใช้งานโปรแกรม MS-Project

ควรรู้อะไรมาบ้างก่อนอ่านหนังสือเล่มนี้

  • การใช้งานระบบ Windows อย่างน้อยก็ขั้นพื้นฐาน
  • การใช้โปรแกรม MS-Office อย่างน้อยก็ขั้นพื้นฐาน
  • ภาษาอังกฤษระดับพื้นฐานทั่วไป

ต้องมีอะไรบ้างเพื่อทำตามตัวอย่างในหนังสือ

  • เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมระบบ Windows 10 หรือ Windows Server 2019 ก็ได้
  • โปรแกรม MS-Project 2019
  • โปรแกรม MS-Office เช่น MS-Excel, MS-PowerPoint เป็นต้น

5.00

Based on 1 reviews
1
0
0
0
0

1 review for บริหารโครงการให้อยู่หมัด Microsoft Project 2019

There are no reviews yet.

Be the first to review “บริหารโครงการให้อยู่หมัด Microsoft Project 2019”

Your email address will not be published. Required fields are marked

Frequently bought together

฿790.00
For 4 item(s)