สุดยอดกลยุทธ์จากสุดยอดกูรู ก็ยังไม่สู้การทลายกำแพงอุปสรรค
ในใจของตัวคุณเอง เปิดใจกับการขายออนไลน์ ยอมรับความเปลี่ยนแปลง
และปรับเปลี่ยนให้ทันยุคสมัย เลิกโทษปัจจัยภายนอก หันมาปรับปัจจัย
ภายในร้านค้าและธุรกิจของตัวเอง และรับฟังข้อคิดง่ายๆ ที่ร้านขายดี
คิดต่างจากร้านทั่วไป
- ข้อคิดที่ 1 อย่าเปรียบเทียบราคากับคู่แข่งมากเกินไป
ข้อคิดแรกนี้เป็นสิ่งที่ผู้เขียนอยากให้คนที่ยังไม่เริ่มลงขาย ทำความเข้าใจให้มากๆ เพราะจากการพูดคุยกับหลายๆ คนที่เปิดร้านขายใน Facebook บ้าง IG บ้าง บอกว่าเดี๋ยว นี้ขายไม่ดีเลย พอผู้เขียนถามกลับไปว่า ลองลงขายใน Lazada หรือ Shopee แล้วหรือยัง ก็กลับได้คำาตอบว่า “ขายไม่ได้หรอก คู่แข่งลดราคาจนไม่เหลือกำไรเลย”
การเปรียบเทียบราคาก่อนลงขายเป็น สิ่งที่ควรทำก็จริง แต่อย่าเปรียบเทียบมากจน ตัวเองไม่ได้ทำอะไรเลย
- ข้อคิดที่ 2 จงให้คุณค่ากับร้านค้าตัวเอง
การเปิดร้านค้าออนไลน์เป็นเรื่องที่ไม่ยากในโลกออนไลน์ จึงมีร้านค้าผุดขึ้นจำานวน มากจนผู้ซื้อจำาไม่ได้ว่าสินค้าที่ซื้อมาจากร้านไหน แต่สิ่งที่พวกเค้ารับรู้ก็คือ สินค้าที่ซื้อซึ่ง พวกเค้าชื่นชอบนั้นเป็นของแบรนด์ไหน
สาเหตุที่ลูกค้าจำได้ ก็เพราะแต่ละแบรนด์ล้วนสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและธุรกิจของตนเอง เริ่มจากฉลากสินค้าก็ทำให้รู้แล้วว่าเป็นแบรนด์อะไร เท่านั้นยังไม่พอ ในฉลากยัง ระบุคุณค่าของสินค้าและแบรนด์ลงไปด้วย
ในแนวทางเดียวกัน ถ้าร้านค้าของคุณไม่ได้ขายสินค้าของตัวเอง ก็จงสร้างคุณค่าให้ กับร้านเหมือนการสร้างแบรนด์ซึ่งทำาให้เกิดคุณค่าจนผู้ซื้อจดจำาและกลับมาซื้อซ้ำ
แล้วจะสร้างคุณค่าให้กับร้านค้าได้ยังไง?
วิธีสร้างคุณค่าให้กับร้านค้า คือ การทำให้ร้านค้าเป็นมากกว่าร้านขายสินค้าทั่วไป เช่น ร้านขายเครื่องดนตรี ก็สามารถสร้างคุณค่าให้กับร้านค้า ด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อเครื่องดนตรีในร้าน ไปจนถึงความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรี
- ข้อคิดที่ 3 อย่าคิดแทนผู้ซื้อ ให้ดูสถิติเป็นหลัก
อุปสรรคที่มักเจออยู่บ่อยๆ ทั้งกับผู้ขายหน้าใหม่และหน้าเก่าคือ การคิดแทนผู้ซื้อ เช่น สินค้าขายไม่ได้เพราะราคาสูงเกินไป หรือสินค้าหาง่ายๆ แบบนี้ใครจะไปซื้อ เป็นต้น
อย่างตัวผู้เขียนเองก็เคยเป็นในสมัยที่เป็นนักขายหน้าใหม่ อยากลงขายใน eBay มีคนแนะนำว่าลองเอา “กระทะหมูกระทะ” ไปลงขายดูสิ ผู้เขียนก็คิดเองเออเองว่า ของแบบนี้ จะขายได้เหรอ เค้าใช้กระทะปิ้งย่างไฟฟ้าไม่ง่ายกว่าเหรอ ผลปรากฏว่ามีคนไทยนำสินค้า ประเภทนี้ไปลงขายแล้วขายดีจนติด Bestseller ไปเลย ซึ่งเมื่อไปเสิร์ชข้อมูลสถิติดูก็พบว่ามีผู้ซื้อในต่างประเทศที่มีความต้องการมากทีเดียว
- ข้อคิดที่ 4 โปรดนอบน้อมกับผู้ซื้อและยอมรับในสิ่งที่คุณพลาด
ในหน้าแสดงรายละเอียดสินค้าแต่ละชนิดของแต่ละร้านใน Lazada และ Shopee จะมี ข้อความรีวิวหรือคอมเมนต์ของผู้ซื้อรายก่อนๆ รวมถึงข้อความที่ผู้ขายตอบลูกค้า แสดงให้ผู้ที่สนใจซื้อสินค้านั้นอ่านเพื่อประกอบการตัดสินใจสั่งซื้อด้วย
จุดนี้เองที่ผู้เขียนมักจะเห็นปัญหาอย่างหนึ่งจากข้อความที่ผู้ขายโต้ตอบลูกค้า คือ กรณีที่ลูกค้า เขียนรีวิวสินค้าในเชิงลบเพราะได้รับสินค้าไม่ตรงกับความคาดหวัง ผู้ขายบางรายที่เป็นคน โผงผางไปหน่อย อาจจะใช้คำาพูดลักษณะที่ไม่แคร์ลูกค้าสักเท่าไหร่ เช่น รับไม่ได้เชิญร้าน อื่น, สินค้าราคาเท่านี้ คุณภาพก็ตามราคา ฯลฯ
กรณีอย่างนี้ไม่เพียงแค่ทำาให้ทางร้านเสียลูกค้าเฉพาะรายที่โต้ตอบเท่านั้น ผู้ที่สนใจ
ซื้อสินค้านั้นอีกมากมายที่ได้อ่านรีวิวนั้น ก็อาจจะล้มเลิกความสนใจที่จะสั่งซื้อไปด้วย
วิธีการป้องกันปัญหาที่ถูกต้อง คือ นอกจากทางร้านต้องบอกรายละเอียดสินค้าให้ ครบถ้วนและชัดเจน เช่น ขนาด, สี ฯลฯ ทั้งในหน้าแสดงรายละเอียดสินค้าและในตะกร้า สรุปรายการสินค้าที่ผู้ซื้อเลือกไว้แล้ว หากสินค้านั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยจุกจิก ผู้ขายควร แชตกับลูกค้าเพื่อทบทวนรายละเอียดสินค้าและให้ลูกค้ายืนยันอีกครั้งก่อนที่จะจัดส่งสินค้า ซึ่งแม้ว่าจะเสียเวลาไปบ้าง แต่ก็คุ้มค่ากับการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
และผลพลอยได้อีกอย่างก็คือ เป็นการสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าจนอาจจะ ช่วยเพิ่มคะแนนรีวิวซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำาคัญที่จะทำให้รายการสินค้าของทางร้าน ได้ แสดงอยู่ลำดับที่ดีในหน้าแสดงสินค้าเด่นของ Lazada และ Shopee ที่เรียกว่า Marketplace หรือ Shopping Mall
- ข้อคิดที่ 5 คิดเสมอว่คุณคือ “ผู้ให้” ที่มอบสิ่งดีๆ ให้แก่ลูกค้
Leave a reply