สร้าง Mobile App ข้ามแพลตฟอร์ม
ด้วย PhoneGap
How to order...Order now...
อวยพร โกมลวิจิตรกุล 295 บ. 512 บ. 265 บ.

อธิบายวิธีเขียน Mobile App ที่ใช้ได้ทั้ง Android และ iOS ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน จนถึงการประยุกต์ใช้ โดยอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ ในการสร้างเว็บเป็นเครื่องมือ อย่าง HTML5, CSS3, JavaScript, jQuery Mobile และ Dreamweaver CC รวบรวมโค้ดสำเร็จรูปที่พบบ่อย ซึ่งนำไปใช้ได้ทันที ดาวน์โหลดตัวอย่างโค้ดในหนังสือผ่านเว็บ witty.co.th ฟรี เสริมด้วยการแนะนำวิธีโปรโมต+หารายได้ใน iTunes Store + Google Play สำหรับมือใหม่

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง

  • ผู้สนใจเรียนรู้การพัฒนาแอปเพื่อให้สามารถทำงานได้หลายแพลตฟอร์มโดยเขียนโค้ดเพียงครั้งเดียว
  • ผู้ที่มีพื้นฐานด้าน web programming มาบ้าง และต้องการต่อยอดการทำงานไปสู่การพัฒนาแอป โดยไม่จำเป็นต้องไปเริ่มศึกษาเทคโนโลยีหรือภาษาที่ใช้ในการเขียนแอปใหม่ทั้งหมด
  • นักเรียน/นักศึกษาที่ต้องการนำไปทำโปรเจกต์เกี่ยวกับการพัฒนาแอป

ควรรู้อะไรมาบ้างก่อนอ่าน

    หนังสือเล่มนี้ปูพื้นฐานตั้งแต่เริ่มต้นมาให้อยู่แล้ว ดังนั้น ถึงแม้ไม่มีพื้นฐานก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าผู้อ่านมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บ เช่น HTML5, JavaScript หรือ CSS3 รวมถึงการทำงานของสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตมาบ้าง ก็จะช่วยให้เรียนรู้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

จะทดลองทำตามตัวอย่างในหนังสือ ต้องมีอะไรบ้าง

  • สมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตที่ใช้ระบบ Android, iOS หรือ Windows Phone ก็ได้ ถ้ามีสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตที่รองรับทั้ง 3 ระบบก็ยิ่งดี เพราะในบางตัวอย่างอาจไม่สามารถทดสอบกับโปรแกรมจำลองเครื่องได้
  • โปรแกรมที่ใช้ในการเขียนโค้ดและไฟล์สำคัญต่างๆ ของ PhoneGap เช่น Dreamweaver CC, NodeJS, PhoneGap API หรือ Eclipse ซึ่งดาวน์โหลดได้ตามลิงก์ที่บอกไว้ในหนังสือ

PART 1 : การสร้างโมบายล์แอป

บทที่ 1 รู้จัก PhoneGap

PhoneGap และ Hybrid Application ที่นักพัฒนาหลายคนพูดถึงคืออะไร? และจะช่วยให้การพัฒนาโมบายแอปที่มีความแตกต่างกันหลายแพลตฟอร์มเป็นเรื่องง่ายได้อย่างไร? เราจะมาทำความรู้จักกันในบทนี้

  • PhoneGap framework คืออะไร?
  • ความสามารถของ PhoneGap
  • แอปที่สร้างจาก PhoneGap ทำงานอย่างไร?

บทที่ 2 กำหนดค่าการทำงานของ PhoneGap บน Dreamweaver

แม้ว่า Adobe จะอนุญาตให้ใช้งาน PhoneGap ร่วมกับโปรแกรม Editor ต่างๆ ได้ฟรี แต่ก็ไม่สะดวกเท่ากับการใช้งานบน Dreamweaver เพราะทุกอย่างได้ถูกจัดเตรียมให้แล้ว เพียงแค่ติดตั้ง SDK ของแพลตฟอร์มโมบายล์นั้นๆ ลงไปก็สามารถใช้งานได้เลย

  • ลงทะเบียนการใช้งาน PhoneGap
  • ดาวน์โหลด SDK ของแพลตฟอร์มต่างๆ
  • ดาวน์โหลดและติดตั้ง Dreamweaver CC
  • กำหนดค่า PhoneGap ร่วมกับ SDK
  • ทดสอบการทำงานของแอปบนอุปกรณ์จำลอง
  • ติดตั้งแอปลงอุปกรณ์จริงด้วยการสแกน QR Code
  • ดาวน์โหลดและติดตั้งแอปลงอุปกรณ์

บทที่ 3 ติดตั้ง PhoneGap และ Eclipse เพื่อสร้างแอปบน Android

สำหรับผู้ไม่ต้องการใช้ Dreamweaver ในการพัฒนาแอป ก็สามารถใช้โปรแกรม Editor ตัวอื่นที่ได้รับความนิยมและใช้งานฟรีอย่าง Eclipse มาแทนได้ โดยในบทนี้จะพูดถึงการติดตั้ง PhoneGap และ Eclipse เพื่อพัฒนาแอปบน Android

  • ดาวน์โหลดและติดตั้ง PhoneGap
  • ติดตั้ง JDK ชุดพัฒนาภาษา Java
  • ดาวน์โหลดและติดตั้ง Apache Ant
  • ดาวน์โหลดและติดตั้ง Android SDK, ADT และ Eclipse
  • กำหนด Path ของเครื่องมือต่างๆ ใน Environment Variables
  • สร้างแอป Android ด้วย PhoneGap และ Eclipse
  • ปรับแต่งค่าการทำงานของ Android Virtual Device

บทที่ 4 ติดตั้ง PhoneGap บน MAC OS เพื่อสร้างแอปบน iPhone/iPad

การพัฒนาแอป iPhone/iPad จะทำบนระบบปฏิบัติการ Mac OS เพราะนอกจาก ติดตั้ง PhoneGap แล้ว จะต้องอาศัยโปรแกรม Xcode เพื่อใช้ในการเขียนโค้ดและสร้างอุปกรณ์จำลองสำหรับทดสอบการทำงานของแอปด้วย

  • ลงทะเบียนขอใช้ Apple ID
  • ดาวน์โหลดและติดตั้ง Xcode
  • ดาวน์โหลดและติดตั้ง PhoneGap บน MAC OS
  • สร้างแอปบน iPhone/iPad ด้วย PhoneGap และ Xcode

บทที่ 5 ติดตั้ง PhoneGap บน Windows 8 เพื่อสร้างแอปบน Windows Phone

Windows Phone ถือเป็นระบบปฏิบัติการสมาร์ตโฟน 1 ใน 3 ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดรองจาก Android และ iOS แต่ด้วยการสนับสนุนจาก Microsoft ในทุกๆ ด้านทำให้มีผู้ใช้มากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการสร้างแอปบน Windows Phone จึงเป็นตัวเลือกที่ไม่อาจมองข้ามได้

  • ดาวน์โหลดและติดตั้ง Windows Phone SDK
  • ดาวน์โหลดและติดตั้ง PhoneGap ใน Windows Phone SDK
  • สร้างแอปด้วย PhoneGap และ Visual Studio Express

บทที่ 6 พื้นฐานการใช้งาน Dreamweaver CC

การพัฒนาแอปด้วย PhoneGap และ Dreamweaver CC นับว่าเป็นเครื่องมือที่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะง่ายต่อการติดตั้งและมีเครื่องมือช่วยเหลือต่างๆ มากมาย สำหรับมือใหม่บทนี้จะพาไปทำความรู้จักพื้นฐานการทำงานเบื้องต้นกันก่อน

  • รู้จัก Dreamweaver CC
  • การสร้าง Site
  • การจัดการ Site
  • สร้างหน้าเพจใหม่
  • กำหนดมุมมองการทำงาน
  • เซฟไฟล์งาน
  • กำหนดรูปแบบหน้าต่างการทำงาน
  • ทดสอบการแสดงผลบนโปรแกรมเว็บเบราเซอร์
  • กำหนดภาษาไทย
  • แสดงไม้บรรทัดและเส้นกริด

บทที่ 7 พื้นฐานการเขียน HTML5

PhoneGap จัดเป็น Framework ประเภท Hybrid Application ที่ใช้มาตรฐานของ Web Technology ในการพัฒนา ดังนั้น HTML5 จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การเขียนแอปมีความสวยงามและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • รู้จัก HTML5
  • ความสามารถใหม่ของ HTML5
  • แท็กและอิลิเมนต์ของ HTML5
  • โครงสร้างพื้นฐานของการเขียน HTML5
  • แท็กพื้นฐานของ HTML5 ที่ควรรู้จัก
    • แท็ก <!doctype html>
    • แท็ก <head> ... </head>
    • แท็ก <title> ... </title>
    • แท็ก <body> ... </body>
    • แท็ก <meta>
    • แท็ก <br>
    • แท็ก <p> ... </p>
    • แท็ก <a> ... </a>
    • แท็ก <div> ... </div>
    • แท็ก <base>
    • แท็ก <!-- -->
    • แท็ก <h1> ... </h1> ถึง <h6> ... </h6>
    • แท็ก <img>
    • แท็ก <table> ... </table>
    • แท็ก <b> ... </b>, <i> ... </i> และ <u> ... </u>

บทที่ 8 จัดรูปแบบการแสดงผลด้วย CSS

หน้าตาของแอปที่สวยงามและถูกออกแบบมาอย่างเป็นระเบียบก็เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการเรียกความสนใจของผู้ใช้ ซึ่งปัจจุบันมาตรฐานที่ใช้จัดรูปแบบการแสดงผลของแอปหรือหน้าเว็บเพจให้สวยงามก็คือ CSS

  • CSS คืออะไร?
  • CSS แบบ Inline
  • CSS แบบ Embedded
  • CSS แบบ External
  • กำหนดค่าเบื้องต้นของ CSS ใน Dreamweaver CC
  • สร้าง CSS แบบ Embedded
  • สร้าง CSS แบบ Class
  • สร้าง CSS แบบ ID
  • สร้าง CSS แบบ External
    • นำไฟล์ CSS แบบ External ไปใช้กับเว็บเพจอื่นๆ
    • การย้ายค่า CSS

บทที่ 9 JavaScript เบื้องต้น

JavaScript เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างแอปด้วย PhoneGap เนื่องจากจะช่วยให้การเขียนแอปมีลูกเล่นและสามารถตอบโต้กับผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น และยังเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการนำไปเขียน jQuery ที่เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาแอปของหนังสือเล่มนี้

  • JavaScript คืออะไร?
  • รูปแบบการเขียน JavaScript
  • การเขียน JavaScript แบบ Internal
  • การเขียน JavaScript แบบ External
  • ข้อกำหนดของการเขียน JavaScript
    • รูปแบบการเขียนคำสั่งใน JavaScript
    • การเขียนคอมเมนต์ใน JavaScript
    • คำสงวนที่ห้ามนำไปใช้ใน JavaScript
    • ข้อกำหนดอื่นๆ ของ JavaScript
  • ตัวแปรใน JavaScript
    • การประกาศตัวแปร
    • ข้อกำหนดของการประกาศตัวแปร
    • ชนิดข้อมูลของตัวแปร
    • การ Casting ชนิดข้อมูลของตัวแปร
    • การ Conversion ชนิดข้อมูลของตัวแปร
    • ขอบเขตการทำงานของตัวแปร
  • โอเปอเรเตอร์
    • ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
    • ตัวดำเนินการเพิ่มและลดค่า
    • ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
    • ตัวดำเนินการกำหนดค่า
    • ตัวดำเนินการทางตรรกะ
    • ตัวอย่างการใช้งานโอเปอเรเตอร์ใน JavaScript
    • ตัวอย่างการใช้งานโอเปอเรเตอร์เพื่อเปรียบเทียบค่าใน JavaScript
  • กำหนดเงื่อนไขการทำงานด้วยคำสั่ง if
    • คำสั่ง if
    • คำสั่ง if...else
    • คำสั่ง if...else...if
  • กำหนดเงื่อนไขการทำงานด้วยคำสั่ง switch
  • กำหนดการทำซ้ำด้วยคำสั่ง for
  • กำหนดการทำซ้ำด้วยคำสั่ง while และ do-while
    • คำสั่ง while
    • คำสั่ง do-while
  • ฟังก์ชันใน Java Script
    • รูปแบบของฟังก์ชัน
    • การเขียนฟังก์ชัน

บทที่ 10 พื้นฐานการสร้างแอปด้วย jQuery Mobile

การสร้างแอปในปัจจุบันทำได้ง่ายขึ้น เพราะมีเครื่องมือหรือ Framework ต่างๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านกราฟิกที่ติดต่อกับผู้ใช้ หรือส่วนควบคุมการทำงานต่างๆ ซึ่ง jQuery Mobile ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความนิยมอย่างมาก

  • รู้จัก jQuery Mobile
  • การติดตั้งหรือกำหนดค่าเพื่อใช้งาน jQuery Mobile
    • การใช้งานแบบ CDN
    • การใช้งานแบบติดตั้งไฟล์ลงเครื่อง
  • กำหนดการแสดงผลให้เหมาะสมกับขนาดของหน้าจอ
  • ใช้ Google Chrome เป็นโปรแกรมโมบายล์อีมูเลเตอร์
  • โครงสร้างหลักของ Page ที่เขียนด้วย jQuery Mobile
  • สร้าง Multipage
    • Internal Page
    • External Page
  • กำหนด Transition เปลี่ยนหน้า Page
  • สร้างและปรับแต่งปุ่ม
    • ปุ่มในส่วนของ header
    • ปุ่มในส่วนของ footer
    • ปุ่มในส่วนของ content
    • ใส่ไอคอนให้ปุ่ม
  • การสร้างฟอร์ม
    • โครงสร้างของฟอร์ม
    • Text Inputs และ Label
    • ประเภทของ Text Inputs
    • Slider
    • Flip Toggle Switch
    • Radio Buttons
    • Checkboxes
    • Select Buttons

บทที่ 11 การเขียน jQuery Mobile ด้วย Dreamweaver CC

นอกจากการเขียน jQuery Mobile ด้วยโปรแกรม Text Editor ต่างๆ แล้ว หากเราเลือกใช้ Dreamweaver CC ในการพัฒนาแอป ก็จะทำให้การเขียน jQuery Mobile เป็นเรื่องที่ง่ายและรวดเร็วขึ้น เพราะมีเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกอยู่มาก โดยไม่ต้องเขียนโค้ดแม้แต่บรรทัดเดียว

  • jQuery Mobile บน Dreamweaver CC
  • เริ่มต้นสร้าง jQuery Mobile
  • ปรับแต่งและแก้ไขข้อความ
  • การสร้างปุ่ม
  • การเปลี่ยนสีข้อความด้วย CSS
  • การเปลี่ยนสีพื้นหลังของปุ่มและส่วนต่างๆ
  • สร้าง Themes ด้วยตัวเอง
  • ปรับแต่งโทนสี
    • คำสั่งที่ใช้ปรับแต่ง Theme ในส่วนของ Global
    • คำสั่งที่ใช้ปรับแต่ง Theme เฉพาะรูปแบบ
    • การสร้าง Theme ใหม่
    • ดาวน์โหลด Theme ที่สร้างไปใช้งาน
    • นำ Theme กลับไปแก้ไขใน ThemeRoller
  • สร้างเมนูแบบ List View
  • ใส่รูปภาพให้กับเมนู List View
  • การสร้างหน้าต่างป็อปอัปแบบ Modal Dialogs
  • การสร้างฟอร์ม
    • สร้าง Text รับข้อมูล
    • สร้าง Text Area รับข้อมูลหลายบรรทัด
    • สร้าง Password รับข้อมูลรหัสผ่าน
    • สร้างตัวเลือกแบบ Radio Button
    • สร้างตัวเลือกแบบ Checkbox
    • สร้างตัวเลือกแบบ Select
    • สร้างออบเจ็กต์สำหรับอัปโหลดไฟล์ด้วย File
    • สร้างปุ่ม Submit และ Reset

บทที่ 12 สร้างแอปด้วย Event ของ PhoneGap

แอปที่ดีควรสามารถตรวจจับและตอบสนองต่อสถานะการทำงานต่างๆ ได้ เช่น สถานะของการกดปุ่ม, การทำงานของตัวเครื่อง หรือการทำงานของแอป ซึ่ง PhoneGap ก็ได้เตรียม Event สำหรับการทำงานในส่วนนี้ให้แล้ว โดยเราจะทำความรู้จักกับ Event ต่างๆ ในบทนี้

  • รู้จักและทำความเข้าใจกับ Event
  • การสร้าง Event Listener
  • deviceready Event
  • Application Status Events
  • Button Events
  • Network Status Event
  • สร้างแอปตรวจสอบสถานะออนไลน์และการเชื่อมต่อเครือข่าย
    • อธิบายโค้ด assets/www/index.html
    • อธิบายโค้ด assets/www/js/script.js

บทที่ 13 เปลี่ยนไอคอนและภาพหน้าจอ Splash Screen

ก่อนเข้าใช้งานแอปต่างๆ ผู้ใช้จะได้สัมผัสกับไอคอนและพบกับหน้าจอต้อนรับ หรือที่เรียกว่าหน้าจอ “Splash Screen” ทั้ง 2 ส่วนนี้ถือเป็นหน้าตาของแอปที่ควรให้ความความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการเขียนโค้ดเพื่อสร้างระบบการทำงานของแอปเลย

  • ไฟล์ไอคอนและหน้าจอ Splash Screen ใน PhoneGap
  • ไฟล์ไอคอนของแพลตฟอร์มต่างๆ
    • รู้จักหน่วยที่ใช้กำหนดความละเอียดของไฟล์ภาพบน Android
    • ไฟล์ไอคอนของ Android
    • ไฟล์ไอคอนของ iOS
    • ไฟล์ไอคอนของ Windows Phone
    • การเปลี่ยนไฟล์ไอคอน
  • ภาพ Splash Screen ของแพลตฟอร์มต่างๆ
    • ภาพ Splash Screen ของ Android
    • ภาพ Splash Screen ของ iOS
    • ภาพ Splash Screen ของ Windows Phone
  • การเปลี่ยนภาพ Splash Screen บนแพลตฟอร์มต่างๆ
    • เปลี่ยนภาพ Splash Screen บน Android
    • เปลี่ยนภาพ Splash Screen บน iOS

บทที่ 14 สร้างแอปวิดีโอออนไลน์

การชมภาพยนตร์บนเว็บไซต์ต่างๆ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นในบทนี้เราจะใช้ความรู้พื้นฐานจากในบทก่อนหน้านี้มาสร้างเป็นแอปวิดีโออออนไลน์เพื่อให้สามารถชมภาพยนตร์และรายการต่างๆ ผ่านทางสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตได้สะดวกยิ่งขึ้น

  • การทำงานของแอปวิดีโอออนไลน์
  • ค้นหาโค้ดวิดีโอออนไลน์สำหรับฝังลงในแอป
    • โค้ดจาก Vimeo.com
    • โค้ดจาก Youtube.com
  • โค้ดแอปวิดีโอออนไลน์
  • อธิบายโค้ด assets/www/index.html

บทที่ 15 สร้างแอปเกมด้วย Accelerometer API

Accelerometer เข้ามาเพิ่มลูกเล่นและความสามารถต่างๆ ให้กับสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต เช่น ใช้ตรวจจับการเคลื่อนไหวของแนวแกนต่างๆ (x, y, z) เพื่อให้หน้าจอแสดงผลตามการหมุนของตัวเครื่อง รวมถึงนำไปใช้ร่วมกับการเล่นเกมที่ทำให้การควบคุมเสมือนจริงมากขึ้น

  • รู้จัก Accelerometer
  • สร้างแอปทดสอบการทำงานของ Accelerometer
  • อธิบายโค้ด assets/www/index.html
  • นำชุดคำสั่ง Accelerometer API มาสร้างแอปเกม
    • รูปแบบการเล่นเกม
    • ขั้นตอนการสร้างและการเขียนโค้ด
    • อธิบายโค้ด assets/www/index.html
    • อธิบายโค้ด assets/www/ballInBox.js

บทที่ 16 สร้างแอปเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและฐานข้อมูล

แอปที่ใช้บันทึกหรือจัดเก็บข้อมูล เช่น เก็บข้อมูลส่วนตัว, ตารางเวลางาน หรือข้อมูลตัวเลขต่างๆ ถือเป็นแอปที่มีความสำคัญเพราะสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายทั้งแอปประเภทยูทิลิตี้, เกม หรือสื่อมัลติมีเดียต่างๆ ซึ่งใน PhoneGap ก็มีเมธอดให้เก็บข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น เก็บข้อมูลลงในตัวเครื่องแบบไฟล์ข้อความหรือเก็บลงในฐานข้อมูล เป็นต้น

  • การจัดเก็บข้อมูล (Storage) ใน PhoneGap
  • การเขียนแอปเก็บข้อมูลแบบ localStorage
  • อธิบายโค้ด assets/www/index.html ของแอป mystorage
  • การเขียนแอปเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล
  • อธิบายโค้ด assets/www/index.html ของแอป mydb

บทที่ 17 เผยแพร่และวางจำหน่ายแอปบน iTunes Store และ Google Play

จากสถิติที่มีการสำรวจ ยอดการเผยแพร่และดาวน์โหลดแอปบน iTune Store และ Google Play ถือเป็นสัดส่วนที่สูงมาก จนคุ้มค่าพอที่เราจะพัฒนาแอปเพื่อวางจำหน่ายทั้ง 2 ตลาดนี้ โดยการอัปโหลดขึ้นไปเผยแพร่ก็เสียค่าใช้จ่ายไม่มากและมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ดังจะกล่าวถึงในบทนี้

  • เผยแพร่และจำหน่ายแอปบน iTunes Store
    • ลงทะเบียนเป็น iOS Developer Account
    • นำแอปขึ้นไปเผยแพร่บน iTunes Store
  • เผยแพร่และจำหน่ายแอปบน Google Play
    • ลงทะเบียนเป็น Android Developer
    • การลงลายเซ็นแบบดิจิทัลให้กับแอป
    • นำแอปขึ้นไปเผยแพร่บน Google Play

บทที่ 18 โปรโมตแอปให้โลกรู้และการหารายได้จากแอป

แอปที่ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างดีแค่ไหน ก็อาจเป็นแค่แอปดีๆ ที่ไม่มีใครรู้จัก ถ้าหากขาดซึ่งการโปรโมตที่ดี ดังนั้นการสร้าง แอปขึ้นมาสักแอปหนึ่ง นอกจากต้องเรียนรู้ทั้งเรื่องเทคนิคการเขียนโปรแกรมและการออกแบบแล้ว สิ่งที่จะขาดไม่ได้ก็คือ การโปรโมตแอปอย่างไรให้คนรู้จักมากที่สุด

  • เขียนแอปว่ายาก แต่โปรโมตแอปให้คนรู้จักยากกว่า
  • เทคนิคง่ายๆ โปรโมตแอปให้เป็นที่รู้จัก
    • โปรโมตแอปผ่านบล็อกเกอร์
    • โปรโมตแอปด้วยตัวเองผ่านช่องทางต่างๆ
    • เปิดตัวครั้งแรกควรเป็นแอปฟรี
    • มีเรื่องราวหรือความเป็นมา
    • เน้นโปรโมตที่จุดเด่นและความแตกต่าง
  • เขียนแอปให้รวย ต้องรู้จักช่องทางหารายได้จากแอป
    • รายได้จากการวางจำหน่ายแอปโดยตรง
    • รายได้จากการขายบริการในแอป (In-App Purchase)
    • รายได้ทางอ้อมจากการปล่อยแอปฟรี
    • รายได้จากแอปทดลองใช้งาน
  • เขียนแอปอย่างไรให้ขายได้
    • คุณภาพต้องดี วัตถุประสงค์ต้องชัดเจน
    • ชื่อแอปต้องโดน
    • ราคาต้องเหมาะสม
    • โปรโมตต้องถึง
  • ทำอย่างไรให้ติด Top New บน App Store และ Play Store

PART 2 : รวมโค้ดสร้างแอปที่ใช้บ่อย

บทที่ 19 รวมโค้ดตรวจสอบเหตุการณ์ต่างๆ (Events)

  • รู้จักประเภทของ Event ต่างๆ
  • การใช้ EvnetListener
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • Backbutton (สถานะการกดปุ่ม)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • Deviceready (สถานะเริ่มต้นการทำงาน)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • Menubutton (สถานะการกดปุ่ม Menu)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • Pause (สถานะในโหมด Background)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • Resume (สถานะในโหมด Foreground)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • Searchbutton (สถานะการกดปุ่ม Search)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • Online (สถานะออนไลน์)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • Offline (สถานะออฟไลน์)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง

บทที่ 20 รวมโค้ดตรวจสอบข้อมูลและสถานะต่างๆ ของอุปกรณ์ (Device info)

  • ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของอุปกรณ์ด้วยคำสั่ง device
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • ตรวจสอบการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ ด้วยคำสั่ง connection
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • แจ้งเตือนสถานะรูปแบบต่างๆ ด้วยคำสั่ง notification
    • รูปแบบโค้ดของ notification.alert
    • รูปแบบโค้ดของ notification.confirm
    • รูปแบบโค้ดของ notification.beep
    • รูปแบบโค้ดของ notification.vibrate
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง

บทที่ 21 รวมโค้ดสร้างแผนที่และอ่านพิกัดใน Google Maps

  • รู้จัก GPS
  • อ่านพิกัดของ GPS ด้วยคำสั่ง Geolocation
    • รูปแบบโค้ดของ geolocation.getcurrentPosition
    • รูปแบบโค้ดของ geolocation.watchPosition
    • รูปแบบโค้ดของ geolocation.clearWatch
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • การสร้างคีย์ Google Maps API
  • นำค่าพิกัดมาใช้บน Google Maps
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง

บทที่ 22 รวมโค้ดบันทึกและค้นหารายชื่อผู้ติดต่อ (Contact)

  • เก็บข้อมูลรายชื่อของผู้ติดต่อด้วยคำสั่ง contacts.create
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • ค้นหารายชื่อของผู้ติดต่อด้วยคำสั่ง contacts.find
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • โค้ดที่ใช้จัดการ Contact ในส่วนอื่นๆ
    • การเซฟข้อมูล
    • การลบข้อมูล
    • การโคลนหรือก๊อบปี้ข้อมูล

บทที่ 23 รวมโค้ดการเก็บข้อมูลของแอป (Storage)

  • การเก็บข้อมูลของแอปใน PhoneGap
  • เก็บข้อมูลแบบถาวร (Local Storage)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • เก็บข้อมูลแบบชั่วคราว (Session Storage)
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • เก็บข้อมูลลงฐานข้อมูล (Database)
    • รูปแบบโค้ดที่ใช้เปิดการทำงานของฐานข้อมูล
    • รูปแบบโค้ดที่ใช้คิวรี่ข้อมูล
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง

บทที่ 24 รวมโค้ดการทำงานของกล้อง (Camera)

  • ควบคุมการทำงานของกล้องด้วยคำสั่ง camera
    • รูปแบบโค้ดการถ่ายภาพ
    • รูปแบบโค้ดจัดเก็บภาพ
    • รูปแบบโค้ดนำภาพที่ถ่ายมาแก้ไข
    • รูปแบบโค้ดเปิดภาพจากแกลลอรี
    • ออปชันที่สำคัญของคำสั่ง camera
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • ถ่ายภาพวิดีโอด้วยคำสั่ง capture.captureVideo
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง
  • เปิดและเลือกภาพถ่ายจากแกลลอรีภาพด้วยคำสั่ง getPicture
    • รูปแบบโค้ด
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง

บทที่ 25 รวมโค้ดการจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ (Files & Folders)

  • การเข้าถึงระบบไฟล์
  • เข้าถึงโฟลเดอร์ด้วยออบเจ็กต์ DirectoryEntry
    • เมธอด getMetadata
    • เมธอด moveTo
    • เมธอด copyTo
    • เมธอด remove
    • เมธอด getParent
  • เข้าถึงไฟล์ด้วยออบเจ็กต์ FileEntry
    • เมธอด createWriter
    • เมธอด file
  • อ่านไฟล์ด้วยออบเจ็กต์ FileReader
    • เมธอด abort
    • เมธอด readAsText
  • เขียนไฟล์ด้วยออบเจ็กต์ FileWriter
    • เมธอด write
    • เมธอด seek
    • เมธอด abort
  • สร้างแอปเขียนและบันทึกข้อมูลลงในไฟล์
    • ตัวอย่างการใช้งาน
    • อธิบายโค้ดตัวอย่าง

แสดงรายการหนังสือ | สั่งซื้อหนังสือ


Copyrights © 2006-3006, Witty Group Co., Ltd.