เก่ง JSP ให้ครบสูตร How to order...Order now...
สาธิต ชัยวิวัฒน์ตระกูล 275 บ.464 น.240 บ.
  • เรียนรู้หลักการทำงาน รวมไปถึงการใช้งานอย่างครบถ้วน เสริมด้วยเทคนิคต่างๆ มากมาย
  • นำเสนอในรูปแบบ by example ด้วยตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานหลากหลายชนิด อาทิ สมุดเยี่ยมชม, ระบบสมาชิก, เว็บบอร์ด, การส่งอีเมล ฯลฯ พร้อมคำอธิบายอย่างละเอียดทุกขั้นตอน
  • เนื้อหาครอบคลุมถึง Scripting Element, Action, Directive, Cookie, Session, JavaBean, JDBC, Java Mail ฯลฯ ตลอดจนหลักการเขียนโปรแกรมภาษา Java เบื้องต้น สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน

บทที่ 1 รู้จักกับ JSP

JSP เป็นสคริปต์อีกภาษาหนึ่ง ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน จุดเด่นที่สำคัญของ JSP อยู่ที่การใช้ภาษา Java ซึ่งเป็นภาษาเชิงวัตถุที่ช่วยให้สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันขนาดใหญ่และซับซ้อน ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

  • จาก Java Servlet มาเป็น JSP
  • สารพัดข้อดีของ JSP
  • ASP, PHP หรือ JSP จะเลือกใช้อะไรดี
  • โครงสร้าง+ขั้นตอนการทำงานของ JSP

บทที่ 2 ติดตั้ง J2SE + Tomcat เพื่อใช้งาน JSP

การใช้สคริปต์ JSP ต้องมีเว็บเซิร์ฟเวอร์เป็นตัวสนับสนุน เนื้อหาในบทนี้จึงอธิบายแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับการติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อจำลองเครื่องให้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพีซีที่ใช้ Windows รุ่นไหนก็ตาม ทำให้สามารถรันสคริปต์ JSP ได้ทันที

  • ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์อะไรบ้าง
  • ประเดิมด้วยการติดตั้ง J2SE
  • กำหนดตัวแปร PATH เพื่อให้เรียกใช้สะดวก
  • ถึงคิวติดตั้ง Tomcat เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์
  • ปรับแต่งให้เรียกใช้ Tomcat สะดวกเช่นกัน
  • ทดสอบการทำงานของ Tomcat ให้ชัวร์ก่อน
  • รันสคริปต์ JSP ฉบับปฐมฤกษ์
  • เรียกใช้พอร์ตของเซิร์ฟเวอร์ให้ถูกต้อง

บทที่ 3 ทบทวนหลักการเขียนโปรแกรมภาษา Java

ภาษาหลักที่ใช้เขียนสคริปต์ JSP ได้แก่ภาษา Java ดังนั้นจึงต้องมาทบทวนความรู้เบื้องต้นของภาษานี้กันหน่อย เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถเรียนรู้และเข้าใจการเขียนสคริปต์ด้วย JSP ได้รวดเร็วขึ้น รวมทั้งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันขนาดใหญ่ต่อไป

  • เขียนโปรแกรมแรกทักทายตามธรรมเนียม
  • รหัสพิเศษต้องระบุเป็น escape sequence
  • มีชนิดข้อมูล ก็ต้องมีคลาสประจำชนิดด้วย
  • คีย์เวิร์ดแตะต้องไม่ได้
  • ทำงานโดยใช้โอเปอเรเตอร์ 6 ประเภท
  • เมธอด = ฟังก์ชัน
  • สร้างเมธอดชื่อซ้ำกันได้ ถ้าพารามิเตอร์ต่างกัน
  • อ็อบเจ็กต์สร้างมาจากคลาส
  • คอนสทรักเตอร์ทำงานอัตโนมัติ เมื่อสร้างอ็อบเจ็กต์
  • สืบทอดคุณสมบัติจากคลาสแม่สู่คลาสลูก
  • เก็บคลาสเป็นหมวดหมู่แยกตามแพกเกจ
  • สถานะ 4 ระดับของตัวแปรและเมธอด
  • ตรวจจับข้อผิดพลาดด้วย try . . . catch . . . finally
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 4 แท็กพื้นฐานและคำสั่งควบคุม

การเขียนสคริปต์ JSP ก็ใช้วิธีเดียวกับภาษาสคริปต์อื่นๆ คือ แทรกแท็กลงไปรวมกับเอกสาร HTML แต่แท็กของ JSP จำแนกออกเป็นหลายประเภท ตามจุดประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกัน บทนี้เราจึงต้องมาทำความเข้าใจแท็กเหล่านั้น รวมทั้งจะได้รู้จักคำสั่งควบคุมการทำงานของสคริปต์ด้วย

  • ใช้แท็ก scriptlet ถ้าเขียนประโยคคำสั่งทั่วไป
  • ใช้แท็ก expression ถ้าแสดงค่าตัวแปรโดดๆ หรือคำนวณค่า
  • ใช้แท็ก declaration ถ้าประกาศตัวแปรหรือเมธอด
  • แท็กหมายเหตุมี 3 แบบ
  • ยังไงก็หนีไม่พ้นเรื่องของตัวแปร
  • ประกาศตัวแปรในแท็ก scriptlet ก็ได้ แต่. . .
  • เมธอดกลุ่มแรกที่ควรรู้ คือเมธอดเกี่ยวกับสตริง
  • แปลงสตริงเป็นตัวเลข <-> แปลงตัวเลขเป็นสตริง
  • เปรียบเทียบเมธอดบางส่วนใน JSP กับฟังก์ชันใน ASP และ PHP
  • คำสั่งตรวจสอบเงื่อนไข เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

บทที่ 5 directive กับ action

action และ directive เป็นแท็กพิเศษ นอกเหนือจากแท็กทั่วไป ซึ่งมีประโยชน์มาก เพราะเอาไว้ใช้สำหรับเพิ่มความสามารถพิเศษต่างๆ ให้แก่ไฟล์สคริปต์ JSP อย่างเช่น การเรียกใช้ไฟล์ภายนอก, การสร้างแท็กใช้เอง, การ forward จากสคริปต์เดิมไปยังสคริปต์อื่น ฯลฯ

  • ใช้ directive กำหนดสภาพการทำงาน
  • กำหนดคุณลักษณะของเอกสาร JSP ด้วย page directive
  • เรียกใช้ไฟล์ภายนอก ด้วย include directive
  • บอกให้รู้ว่าสร้างแท็กใช้เอง ด้วย taglib directive
  • ระบุ action เพื่อควบคุมการทำงานจากภายในถึงภายนอก
  • ส่งต่อการทำงานไปยังอีกไฟล์หนึ่ง ด้วย forward action
  • include action ช่วยแก้ปัญหาของ include directive
  • นำคอมโพเนนต์อื่นมาทำงานในเอกสาร JSP ด้วย plugin action
  • เรียกใช้ JavaBean ร่วมกับเอกสาร JSP ด้วย JavaBean action

บทที่ 6 จัดการข้อมูลจากแบบฟอร์ม

แบบฟอร์ม เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากๆ ของเว็บแอปพลิเคชันทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น เว็บบอร์ด, เกสต์บุ๊ก, บริการอีเมลฟรี ฯลฯ เราสามารถเขียนสคริปต์ JSP รับข้อมูลจากแบบฟอร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่แพ้สคริปต์ภาษาอื่น แถมยังมีเมธอดมากมายที่ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วย

  • implicit object = อ็อบเจ็กต์ที่ไม่ต้องประกาศก่อนใช้งาน
  • รับข้อมูลจาก text box และ text area ด้วย getParameter()
  • กำจัดจุดอ่อนการแสดงผลภาษาไทย
  • ทดลองรับข้อมูลจาก list box และ radio button บ้าง
  • ใช้ตัวแปรอาร์เรย์เมื่อรับข้อมูลจาก check box
  • ยุบรวมแบบฟอร์ม+ประมวลผลในไฟล์เดียว
  • ไขปัญหาการแสดงเครื่องหมายพิเศษให้ถูกต้อง
  • ใช้แท็ก
    แทนรหัส \n เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่

บทที่ 7 บทบาทที่แอบแฝงของ Cookie

Cookie เป็นเทคนิคอีกอย่างหนึ่งที่เว็บไซต์ชั้นนำนิยมใช้กัน เพราะเป็นไฟล์ที่ช่วยเก็บข้อมูลสำคัญไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ชมทางฝั่งไคลเอนต์ และสคริปต์ทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์สามารถอ่านข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ ทุกครั้งที่ผู้ชมคนนั้นแวะเวียนกลับเข้ามายังเว็บไซต์ของเรา

  • ข้อกำหนดของ Cookie ที่พวกเราไม่เคยรู้
  • สารพัดเมธอดที่เกี่ยวกับการใช้งาน Cookie
  • ทดสอบการสร้างและอ่านค่า Cookie
  • สร้างเคาน์เตอร์ด้วย Cookie
  • พัฒนาระบบจดจำชื่ออัตโนมัติ

บทที่ 8 เกาะติดผู้ชมเว็บด้วย Session

อ็อบเจ็กต์ session เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดตามการทำงานของผู้ชมเว็บ โดยการเก็บบันทึกข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับ Session ของผู้ชมแต่ละคน ไว้ทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ และสามารถเรียกใช้ข้อมูลเหล่านั้นได้ตลอดเลย จนกว่าผู้ชมจะออกจากเว็บไซต์ไป

  • Session คืออะไร
  • ติดตามความเคลื่อนไหวของผู้ชมจาก Session
  • วิธีแรก = ส่งค่าจากแบบฟอร์ม โดยใช้ hidden field
  • วิธีที่สอง = ใช้เทคนิค URL Rewriting
  • วิธีที่สาม = ฝากข้อมูลใน Cookie ทางฝั่งไคลเอนต์
  • วิธีสุดท้าย = ใช้อ็อบเจ็กต์ session
  • แจกแจงเมธอดของอ็อบเจ็กต์ session
  • แกะดูข้อมูลของอ็อบเจ็กต์ session ภายในเครื่อง
  • สร้างเคาน์เตอร์ด้วยอ็อบเจ็กต์ session
  • จะทำอย่างไร เมื่อผู้ชม disable การใช้คุกกี้ในเบราเซอร์

บทที่ 9 ใช้ JavaBean เสริม JSP

จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของ JSP อยู่ที่ความสามารถในการทำงานร่วมกับคอมโพเนนต์ที่เรียกว่า JavaBean ซึ่งเขียนด้วยภาษา Java และสามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าแบบไม่จำกัด จึงช่วยให้เราพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเขียนโค้ดใหม่ทุกครั้ง

  • รู้ให้ซึ้งถึงประโยชน์ของคอมโพเนนต์
  • กฎเหล็ก 3 ข้อของการสร้าง Bean
  • สร้างคลาสแล้วต้องเก็บให้เป็นที่เป็นทาง
  • 3 แท็กที่เป็นหัวใจสำคัญ
  • ทดสอบใช้ Bean ตัวแรก
  • จัดการข้อมูลจากแบบฟอร์มด้วย Bean
  • เลือกใช้แอตทริบิวต์ param หรือ value ก็ได้
  • คำสั่งสั้นกระชับกว่าเดิมถ้าชื่อตัวแปรตรงกัน
  • แปลงชนิดข้อมูลโดยอัตโนมัติ
  • กำจัดจุดอ่อนภาษาไทย (อีกแล้ว)
  • กำหนดค่าเริ่มต้นให้แก่ Bean
  • การใช้ Bean ต้องมีขอบเขต
  • ส่งท้ายบท

บทที่ 10 MySQL + JSP ผ่านทาง JDBC

JSP มีความสามารถในการติดต่อกับโปรแกรมระบบฐานข้อมูลได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Oracle, MS Access หรือ MySQL โดยอาศัยเทคโนโลยีที่เรียกว่า JDBC ช่วยให้การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันร่วมกับการจัดการข้อมูล เป็นไปอย่างง่ายดาย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ (ใครๆ เขาว่าอย่างนั้น)

  • บันได 4 ขั้นเพื่อติดต่อฐานข้อมูลด้วย JDBC
  • ติดตั้ง MySQL ให้เรียบร้อยก่อน
  • อุ่นเครื่องให้ MySQL เริ่มต้นทำงาน
  • ตั้งรหัสผ่าน+ปิดสกัดช่องโหว่ เพื่อความปลอดภัย
  • สร้างฐานข้อมูลและตารางเอาไว้ทดสอบ
  • ถึงคราวติดตั้งไดรเวอร์ของ JDBC บ้าง
  • เขียนสคริปต์ดึงข้อมูลจาก MySQL มาแสดง
  • แปลงชนิดข้อมูลให้ตรงความต้องการ

บทที่ 11 หมุนแบนเนอร์อัตโนมัติ

ป้ายโฆษณาหรือแบนเนอร์ เป็นรูปแบบการโฆษณาทางเว็บไซต์วิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันแพร่หลายทั่วไป โดยการแสดงภาพโฆษณาหมุนเวียนสลับกันไป การเขียนสคริปต์เพื่อควบคุมการหมุนเวียนป้ายโฆษณา เป็นเทคนิคที่น่าสนใจซึ่งเราจะได้เรียนรู้กันในบทนี้

  • เขียนสคริปต์แบบง่ายๆ แต่ได้ผล
  • แปลงเป็น Bean หรือใช้วิธี include ก็ทำได้เหมือนกัน
  • สุ่มแบนเนอร์ได้หลายวิธี
  • ปัญหาของการใช้ Bean ที่ต้องคำนึงถึง

บทที่ 12 รับความคิดเห็นผ่านเกสต์บุ๊ก

สมุดเยี่ยมชมหรือเกสต์บุ๊ก เป็นเว็บแอปพลิเคชันที่ดูเหมือนง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน แต่ที่จริงแล้วมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องคำนึงถึงหลายอย่าง เช่น การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล, การป้องกันปัญหาเกี่ยวกับภาษาไทย, การป้องกันการแสดงสัญลักษณ์พิเศษ ฯลฯ ซึ่งเราจะได้ทำความเข้าใจกันในบทนี้

  • ออกแบบตารางเก็บข้อมูลความคิดเห็น
  • เริ่มต้นด้วยสคริปต์รับความคิดเห็นและเก็บบันทึกไว้
  • ดึงข้อมูลความคิดเห็นที่บันทึกไว้มาแสดง
  • อนุญาตให้เว็บมาสเตอร์ลบความคิดเห็น. . .
  • . . .รวมทั้งแก้ไขข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
  • เปลี่ยนรูปแบบวันที่-เวลาได้หลากหลาย
  • เพิ่มระบบป้องกันการแสดงสัญลักษณ์พิเศษ+การเว้นบรรทัด
  • แปลงเป็น Bean หรือเป็นไฟล์สำหรับ include ก็ได้

บทที่ 13 แบ่งข้อมูลให้แสดงทีละหน้า

ถ้าข้อมูลที่จะแสดงในเว็บเพจมีอยู่จำนวนมาก การแบ่งข้อมูลมาแสดงทีละหน้า ย่อมเป็นสิ่งที่ควรจะคำนึงถึง เนื้อหาในบทนี้จึงมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการสร้างเว็บแอปพลิเคชันหลากหลายรูปแบบ อย่างเช่น เว็บบอร์ด, เกสต์บุ๊ก, การแสดงข้อมูลสินค้าในระบบ e-commerce ฯลฯ ซึ่งล้วนมีข้อมูลมากมายมหาศาลทั้งสิ้น

  • ทำความเข้าใจหลักการทำงานพื้นฐาน
  • เตรียมตัวแปรที่สำคัญก่อนเขียนสคริปต์
  • กำหนดจำนวนข้อมูลแต่ละหน้า ด้วยคำสั่ง LIMIT
  • ตรวจสอบความถูกต้องของตัวแปร screen
  • พร้อมแล้วสำหรับการเขียนสคริปต์จริง

บทที่ 14 นับจำนวนผู้ชมออนไลน์

การแสดงจำนวนผู้ชมที่กำลังใช้บริการในเว็บไซต์ ถึงแม้จะไม่ใช่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญ แต่ก็เป็นเครื่องประดับเพิ่มเติมที่ช่วยสร้างความน่าสนใจให้แก่เว็บไซต์เหมือนกัน ดังนั้นในบทนี้คุณจะได้เห็นการเขียนสคริปต์เต็มรูป เพื่อนับจำนวนผู้ชมออนไลน์ แถมด้วยการดัดแปลงไปใช้งานในลักษณะ include file ด้วย

  • ทำความเข้าใจหลักการทำงานเบื้องต้น
  • "คลาดเคลื่อนส่วนเกิน" หักล้าง "คลาดเคลื่อนส่วนขาด"
  • ออกแบบตารางบันทึก Session ID และ timestamp
  • แปรรูปหลักการสู่การเขียนสคริปต์จริง
  • ทดลองนำไปใช้จริงแบบ include

บทที่ 15 ระบบสมาชิก สร้างแฟนประจำเว็บ

ภายในเว็บไซต์อาจจะมีบริการที่จัดไว้สำหรับสมาชิกเท่านั้น หรือมีเนื้อหาบางส่วนที่ไม่ต้องการให้บุคคลภายนอกดู จึงต้องพัฒนาระบบสมาชิกขึ้นมาเพื่อตรวจสอบสิทธิ์การใช้งาน ในลักษณะของการล็อกอินและล็อกเอาต์ โดยอาศัยระบบฐานข้อมูล MySQL ช่วยเก็บข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสมาชิกเอาไว้

  • หลักการทำงานพื้นฐาน
  • ควรให้ความสำคัญกับอีเมลผู้สมัครเพราะว่า. . .
  • ออกแบบตารางเก็บข้อมูลสมาชิก
  • ระบบสมาชิกประกอบด้วยไฟล์อะไรบ้าง
  • จุดเริ่มต้นอยู่ที่หน้าแรกของเว็บไซต์
  • สร้างแบบฟอร์มสมัครสมาชิก
  • ทดสอบล็อกอินเพื่อใช้งาน
  • ประกาศข่าวสารสำหรับสมาชิก
  • เปิดโอกาสให้สมาชิกแก้ไขข้อมูล
  • ล็อกเอาต์ออกจากระบบ

บทที่ 16 เปิดเว็บบอร์ด ปลุกชุมชนให้คึกคัก

ดูเหมือนว่า เว็บบอร์ดเป็นแอปพลิเคชันอีกอย่างหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และนำมาพลิกแพลงใช้ประโยชน์ได้หลายทาง ทั้งสอบถามปัญหา, แสดงความคิดเห็น, ประกาศข่าว, ซื้อขายสินค้า ฯลฯ การเก็บข้อมูลของเว็บบอร์ดจึงต้องแยกเป็น 2 ตาราง เพื่อรองรับการทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อน

  • หลักการทำงานพื้นฐาน
  • ออกแบบตารางเก็บกระทู้แยกกับคำตอบ
  • ตารางคำตอบมี primary key ได้ 2 แบบ
  • เว็บบอร์ดประกอบด้วยไฟล์อะไรบ้าง
  • เริ่มด้วยการลองตั้งกระทู้คำถาม
  • แสดงรายการกระทู้ออกมาให้หมด
  • เปิดดูคำตอบคนอื่น+ตอบกระทู้เอง

บทที่ 17 ส่งอีเมลด้วย JavaMail+JAF

ทุกๆ คนที่ใช้อินเทอร์เน็ต คงไม่มีใครที่ไม่มีอีเมลแอดเดรสเป็นของตนเอง เพราะเป็นช่องทางสามัญในการติดต่อสื่อสารยุคใหม่ JSP ก็มีความสามารถที่เราจะใช้เขียนสคริปต์เพื่อให้บริการส่งอีเมลผ่านทางเว็บไซต์เช่นกัน แถมยังนำไปปรับปรุงการใช้งานได้หลายรูปแบบด้วย

  • หลักการทำงานพื้นฐานและผู้รับ 3 ประเภท
  • ดาวน์โหลดและติดตั้ง JavaMail+JAF
  • รู้จักคลาสที่เกี่ยวข้องกับการส่งอีเมล
  • ทดสอบส่งอีเมลฉบับแรก
  • สร้างแบบฟอร์มเตรียมส่งอีเมล
  • ส่งอีเมลไปยังผู้รับหลายคน
  • แยกส่วนการส่งอีเมลมาอยู่ในเมธอดเดียว

ภาคผนวก ก สารพันเว็บไซต์ JSP

  • เว็บไซต์ภาษาไทย
  • เว็บไซต์ต่างประเทศ
  • เครื่องมือในการพัฒนา JSP
  • เก็บคู่มือไว้อ้างอิงส่วนตัว

ภาคผนวก ข ทำงานกับ MySQL โดยใช้ MySQL-Front

  • ล็อกอินเข้าสู่ฐานข้อมูล
  • สร้างฐานข้อมูลใหม่
  • สร้างตารางใหม่
  • เพิ่ม-ลบ-แก้ไขเรคอร์ดในตาราง

FAQ คำถามที่ถามบ่อย

ดัชนี

แสดงรายการหนังสือ | สั่งซื้อหนังสือ


Copyright © 1996-2003, Witty Group Co., Ltd.