IIS 6 แค่คลิก-คลิก-คลิก
ก็บริหารเซิร์ฟเวอร์ได้แล้ว!
How to order...Order now...
ณัฐภัชร ณ เขาวงกต 295 บ.336 น.260 บ.
    ครอบคลุมทั้งการสร้างและให้บริการ Web Server, FTP Server, Mail Server และ NNTP Server พร้อมด้วยรายละเอียดอื่นๆ อีกเพียบ อาทิ...
  • การใช้งาน ASP, ASP.net, PHP, WebDAV, FrontPage Server Extension ใน IIS 6
  • เทคนิคการสร้างหลายๆ เว็บไซต์ในเว็บเซิร์ฟเวอร์เครื่องเดียว
  • วิธีตรวจสอบสิทธิการใช้งานหรือ Authentication ลักษณะต่างๆ ที่ IIS 6 ทำได้
  • การติดตั้งและใช้งาน CA รวมถึงการตั้งค่าคอนฟิกให้เว็บไซต์สามารถใช้ SSL ได้

  • ฯลฯ

    หนังสือเล่มนี้เหมาะ/ไม่เหมาะกับใครบ้าง

  • ไม่เหมาะกับผู้อ่านที่เป็นมือใหม่ด้วยประการทั้งปวง เนื่องจากความซับซ้อนของเนื้อหาที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในหลายๆ เรื่องประกอบกัน
  • เหมาะสำหรับผู้ดูแลระบบ หรือผู้ที่คิดว่าจะเป็นผู้ดูแลระบบในอนาคต รวมถึงผู้สนใจที่จะเรียนรู้ความสามารถใหม่ๆ ใน IIS 6 เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการทำงานของ IIS ให้มากขึ้น โดยต่อยอดจากการใช้งาน IIS 5/5.1
  • ผู้อ่านต้องทำอะไรเป็นหรือรู้อะไรมาก่อนบ้าง

  • ใช้ Windows 2000 Server หรือ Windows 2003 เป็น และถ้าเข้าใจการทำงานของ Active Directory ด้วยก็จะดีมาก
  • ถ้าเคยใช้งาน IIS 5/5.1 มาก่อน จะช่วยให้เห็นข้อแตกต่างกับ IIS 6 และเข้าใจเนื้อหาในหนังสือดียิ่งขึ้น
  • ควรเข้าใจหลักการทำงานของเซอร์วิสต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตพอสมควร เช่น WWW, FTP, DNS ฯลฯ
  • จะทดลองปฏิบัติตามตัวอย่างในหนังสือ ต้องเตรียมอะไรบ้าง

    เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง Windows 2003 (ถ้าต้องการให้ได้ผลอย่างหนังสือ ควรใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ถึง 3 เครื่อง) โดยมีส่วนประกอบขั้นต่ำดังนี้
  • ซีพียูที่มีความเร็วตั้งแต่ 550 MHz ขึ้นไป
  • หน่วยความจำขนาด 128 MB ขึ้นไป
  • ความจุฮาร์ดดิสก์ 4 GB ขึ้นไป
  • การ์ดแลน
  • ซีดีรอมไดรฟ์

บทนำ ทำไมต้องเป็น IIS 6.0

  • IIS 5.0 มีช่องโหว่
  • ขอโอกาสแก้ตัวด้วย Windows 2003 + IIS 6.0
  • ความพยายาม+ความตั้งใจครั้งใหม่ที่รอพิสูจน์
  • ได้สาระครบทั้ง WWW+FTP+SMTP+NNTP
  • สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก่อนเริ่มอ่าน

บทที่ 1 เตรียมความพร้อม+เริ่มการติดตั้ง

เพราะว่า IIS 6 ไม่ได้เป็นแค่เว็บเซิร์ฟเวอร์ แต่ยังประกอบด้วยคอมโพเนนต์อื่นๆ อีกมากมาย อย่างเช่น FTP Server, SMTP Server, NNTP Server ฯลฯ ดังนั้น เราจำเป็นต้องรู้จักคอมโพเนนต์ต่างๆ ของ IIS 6 ให้ถ่องแท้ ก่อนที่จะติดตั้งใช้งาน IIS 6 ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

  • หน้าตาของเธอ (Desktop) เปลี๊ยนไป๋
  • ก่อนติดตั้ง IIS ต้องทำอะไรบ้าง
    • อัปเดตระบบ Windows ด้วย Windows Update
    • ต้องใช้ระบบไฟล์แบบ NTFS
    • แยกพาร์ทิชันหรือไดรฟ์เก็บข้อมูลแยกจากระบบปฏิบัติการ
    • Domain Controller ต้องแยกจาก IIS
    • กำหนดไอพีแอดเดรสแบบ static สำหรับ (เครื่องที่จะใช้เป็น) Domain Controller
    • เริ่มต้นติดตั้ง Domain Controller + DNS Server
    • นำเครื่องที่จะติดตั้ง IIS เข้าร่วมเป็นสมาชิกในโดเมน
    • เพิ่ม DNS Record เพื่อจับคู่ชื่อเซิร์ฟเวอร์กับไอพีแอดเดรส
  • ถึงเวลาติดตั้ง IIS เสียที ^_^
  • ติดตั้งเสร็จแล้วได้อะไรเพิ่มมาบ้าง
  • แนะนำให้รู้จักคอมโพเนนต์หรือเซอร์วิสต่างๆ
    • คอมโพเนนต์ใน IIS
    • คอมโพเนนต์ใน World Wide Web Service

บทที่ 2 เว็บไซต์แรกออกสตาร์ต

IIS Manager เป็นเครื่องมือหากินในการจัดการกับ IIS 6 ซึ่งช่วยให้ผู้ดูแลระบบจัดการเว็บไซต์ได้ง่ายๆ เพียงแค่การคลิก คลิก และก็คลิก เราจะมาทำความคุ้นเคยกับ IIS Manager ในบทนี้ รวมทั้งการซ้อมมือโดยเปิดใช้งาน Web Service Extensions ที่สำคัญๆ อย่าง ASP และ PHP, ทดลองสร้าง Virtual Directory และศึกษาการตั้งค่าในแท็บต่างๆ ของเว็บไซต์แรกหลังการติดตั้ง IIS 6 หมาดๆ ซึ่งรับรองว่าสนุกไม่เบาแน่นอน !!!

  • เส้นทางสู่การควบคุม IIS
    • ใช้ IIS Manager ที่เซิร์ฟเวอร์โดยตรง
    • ใช้ IIS Manager ผ่านทาง Remote Desktop
    • ใช้ Remote Administration (HTML) จัดการ IIS ผ่านเว็บ
  • แจ้งเกิดเว็บไซต์แรกให้ตั้งค่าคอนฟิกได้แล้ว!
    • แท็บ Web Site = เลือกไอพีแอดเดรส+พอร์ต
    • แท็บ Home Directory = ตั้งค่าไดเรกทอรีหลักของเว็บไซต์
    • แท็บ Documents = แต่งตั้ง Default Content Page
    • แท็บ Directory Security = ตั้งค่าเพื่อตรวจสอบสิทธิผู้ชมเว็บ
  • เปิดใช้งาน ASP ใน Web Service Extensions
  • ติดตั้ง PHP ใน IIS เพื่อสาวกโอเพ่นซอร์ซ
  • สร้าง Virtual Directory แทนของจริงเพื่อความปลอดภัย
  • สำรวจดูหน้าต่าง Properties ของเซิร์ฟเวอร์

บทที่ 3 ตัวอย่าง 8 ประยุกต์ เพื่อสร้างเว็บไซต์ของจริง

เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้งาน ภายหลังจากการตั้งค่าคอนฟิกในแท็บต่างๆ จากบทที่แล้ว บทนี้จะเป็นการยกตัวอย่างในลักษณะต่างๆ ที่คุณสามารถนำไปดัดแปลงใช้งานได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเว็บไซต์ด้วย PHP หรือ PHP-Nuke, การตั้งค่าวิธีตรวจสอบสิทธิแบบต่างๆ เช่น Integrated Windows Authentication, Digest Authentication, การใช้งาน WebDAV และอื่นๆ อีกเพียบ

  • ตัวอย่างที่ 1 สร้างเว็บไซต์ด้วย PHP หรือ PHP-Nuke
  • ตัวอย่างที่ 2 เปลี่ยนหมายเลขพอร์ตของเว็บไซต์
  • ตัวอย่างที่ 3 ตั้งค่าให้สามารถดูรายชื่อไฟล์ใน Virtual Directory
  • ตัวอย่างที่ 4 สกัดกั้นบุคคลต้องห้ามเข้าชมเว็บไซต์
  • ตัวอย่างที่ 5 กำหนดให้ล็อกอินด้วย Integrated Windows Authentication
  • ตัวอย่างที่ 6 กำหนดให้ล็อกอินด้วย Digest Authentication
  • ตัวอย่างที่ 7 กำหนดให้ล็อกอินด้วย Basic Authentication
  • ตัวอย่างที่ 8 อัปโหลด/ดาวน์โหลดไฟล์ผ่าน WebDAV แทน FTP
    • ตั้งค่าไดเรกทอรีตามมาตรฐาน WebDAV
    • 3 แบบ 3 วิธีการเข้าไปใช้งานไดเรกทอรีแบบ WebDAV
    • วิธีที่หนึ่ง ใช้งาน WebDAV ผ่านไอคอน My Network Places
    • วิธีที่สอง เข้าไปใน WebDAV ด้วยการใช้ Internet Explorer
    • วิธีที่สาม เข้าไปใน WebDAV ด้วยการใช้ MS Office 2003

บทที่ 4 สร้างหลายๆ เว็บไซต์ ภายในเซิร์ฟเวอร์เดียว

ในฐานะผู้ดูแลเว็บเซิร์ฟเวอร์ เทคนิคการสร้างและจัดการหลายๆ เว็บไซต์ ในเว็บเซิร์ฟเวอร์เครื่องเดียว ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ถ้าคุณยังทำไม่ได้หรือไม่เข้าใจ คงต้องถูกแซวว่าเอาต์สุดๆ ฉะนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้คุณต้องตกยุค เนื้อหาบทนี้จะทำให้คุณอินเทรนด์ด้วยเทคนิค 3 แบบของการสร้างเว็บไซต์หลายๆ เว็บภายใน IIS 6 ครับ

  • ติดตั้ง ASP.NET ก่อน
  • แนะนำ 3 เทคนิคสร้างหลายเว็บไซต์เอาใจขาโจ๋
  • เทคนิคการสร้างตามหมายเลขพอร์ต
  • เทคนิคการสร้างตามไอพีแอดเดรส
  • เทคนิคการสร้างตามโฮสต์แอดเดรส
  • ระวัง Error จากการกำหนดไอพีแอดเดรสเป็น All Unassigned

บทที่ 5 เครื่องมือช่วยเสริมการทำงาน

ถึงแม้ว่าคุณสร้างเว็บไซต์ได้แล้ว แต่ก็ควรเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ให้เต็มพิกัด และปรับแต่งรายละเอียดค่าคอนฟิกอื่นๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณเอง ซึ่ง 4 แท็บที่ผมจะแนะนำในบทนี้ เป็นตัวช่วยในการปรับแต่งดังกล่าวที่คุณมองข้ามไม่ได้เลย

  • แท็บ Performance = ป้องกันปัญหาความแออัดของเว็บไซต์
    • Bandwidth throttling = จำกัดแบนด์วิดธ์
    • Web site connections = จำกัดจำนวนผู้ชมเว็บ
  • แท็บ HTTP Headers = กำหนดเฮดเดอร์+วันหมดอายุของเว็บเพจ
    • Enable content expiration = กำหนดวันหมดอายุของเว็บเพจ
    • Custom HTTP headers = ใส่เฮดเดอร์ปลอมเพื่อหลอกแฮกเกอร์
    • Content rating = กำหนดเรตหรือประเภทของเว็บไซต์
    • MIME types = ระบุประเภทของไฟล์ที่สามารถแสดงผลทางเบราเซอร์
  • แท็บ Custom Errors = กำหนด Error Message เอง
    • วิธีปรับเปลี่ยน Error Message สำหรับกรณีที่เป็น ASP
    • วิธีปรับเปลี่ยน Error Message สำหรับกรณีที่เป็น ASP.NET
  • แท็บ ISAPI Filters = ติดตั้ง ISAPI ที่เขียนเอง

บทที่ 6 ควบคุมดูแลเว็บไซต์ผ่าน FrontPage Server

FrontPage Server Extensions (FPSE) เป็นจุดนัดพบครึ่งทางระหว่างผู้ดูแลระบบกับนักพัฒนาเว็บไซต์ เพราะผู้ดูแลระบบสามารถแต่งตั้งนักพัฒนาเว็บเป็น Administrator ของ FPSE เพื่อให้สามารถจัดการเว็บไซต์ได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น แต่ยังคงสิทธิการทำงานภายใต้ขอบเขตอันจำกัดที่ผู้ดูแลระบบยอมรับได้

  • รู้จักกับ FrontPage Server Extensions ก่อน
  • แต่งตั้งผู้ดูแลและยูสเซอร์ใน FrontPage Server
  • ทดสอบว่ายูสเซอร์ที่แต่งตั้งไว้ทำงานได้หรือเปล่า
  • เว็บเพจ Server Administration = จัดการสิ่งที่เกี่ยวข้องกับแต่ละเว็บไซต์
    • เลือกสิทธิการทำงานให้แก่ตำแหน่งต่างๆ
    • ตั้งค่าการส่งเมล+ความปลอดภัย
    • เปลี่ยนรหัสผ่านของยูสเซอร์
  • เว็บเพจ Virtual Server Administration = จัดการภายนอกเว็บไซต์
    • ถอดถอน FPSE
    • อัปเกรดเว็บไซต์
    • แก้ไขค่าคอนฟิก
    • จำกัดจำนวนยูสเซอร์แอ็กเคาต์
  • เว็บเพจ Site Administration = จัดการภายในเว็บไซต์
    • เพิ่ม-ลบ-แก้ไขยูสเซอร์และตำแหน่งหน้าที่
    • ตรวจสอบความถูกต้อง+ความเสี่ยง
    • ปกป้องไฟล์ไม่ให้มีการแก้ไข
    • เพิ่ม-ลบ-ผนวกรวมเว็บไซต์ย่อย

บทที่ 7 ขอ Certificate เพื่อใช้ SSL จาก Enterprise CA

การตั้งค่าให้เว็บไซต์สามารถใช้ SSL ได้ ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร แต่ไหนๆ คุณอุตส่าห์อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว เราจึงพาคุณดั้นด้นไปให้ถึงรากเหง้าของ Certification Authority (CA) ซึ่งทำหน้าที่ออกใบรับรอง (Certificate) การใช้ SSL เสียเลย ทั้งนี้เพราะในอนาคตอันใกล้ CA จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แล้วคุณล่ะ พร้อมที่จะรู้จักมันหรือยัง ???

  • จะใช้ SSL ก็ต้องมี Certificate
  • 2 ประเภท 2 ระดับ 2 วิธีในการสร้าง CA
  • ยกแรก ติดตั้ง Enterprise Root CA
  • ยกสอง ติดตั้ง Enterprise Subordinate CA
  • ยกสาม ขอ Certificate ผ่านเว็บ
    • เตรียมเอกสารประกอบการขอ
    • ยื่นคำร้องขอ/ตรวจสอบและอนุมัติ
    • ติดตั้ง Certificate ใน IIS
    • ตั้งค่าคอนฟิกให้แก่เว็บไซต์ที่ต้องการใช้ SSL

บทที่ 8 ขอ Certificate เพื่อใช้ SSL จาก Stand-alone CA

ต่อยอดจากบทที่ผ่านมา เพื่อให้ความกระจ่างเกี่ยวกับ CA อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น Stand-alone CA จะขอแจ้งเกิดในบทนี้ เพราะมันเป็นอีกบทบาทหนึ่งของ CA ที่จะทำให้คุณเข้าใจการทำงานของ CA ดียิ่งขึ้น ลองอ่านดูเถิด รับรองว่าผมไม่ได้โม้ ;-D

  • ยกแรก ตั้ง Stand-alone Root CA ให้ได้ก่อน
  • ยกสอง ติดตั้ง Stand-alone Subordinate CA
  • Certificate เป็นของสำคัญที่ต้องแบ็กอัปไว้
  • แบ็กอัปเป็นแล้ว ก็ต้องกู้ Certificate คืนมาได้

บทที่ 9 หัวใจของ IIS 6 อยู่ที่ Application Pool

Application Pool เป็นหัวใจของ IIS 6 ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ Worker Process Isolation Mode หน้าที่ของมันคือ ช่วยให้คุณหมดกังวลว่า เซิร์ฟเวอร์สุดที่รักจะเกิดอาการ "แฮง" ด้วยเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เพราะฉะนั้นเราจะไปดูกันว่า หัวใจดวงนี้มีกี่ห้อง และว่างให้เราจับจองหรือเปล่า?

  • ย้อนรอยสถาปัตยกรรมของ IIS 5.0/5.1
  • ทำความเข้าใจสถาปัตยกรรมของ IIS 6.0
    • Worker Process Isolation Mode = โหมดใหม่ที่มาพร้อมสถาปัตยกรรมใหม่
    • IIS 5.0 Isolation Mode = โหมดที่ยังคงไว้เผื่อแอปพลิเคชันเดิม
  • จะใช้ IIS 5.0 Isolation Mode ต้องทำอย่างไร
  • ทดลองสร้าง Application Pool ใหม่
  • ตั้งค่าคอนฟิกสำหรับ Application Pool
    • แท็บ Recycling = ปัดกวาด IIS ให้เกลี้ยงเกลา
    • แท็บ Performance = ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
    • แท็บ Health = เฝ้าระวังสุขภาพ Worker Process
    • แท็บ Identity = แต่งตั้งยูสเซอร์ที่ใช้รัน Application Pool
  • นำ Application Pool (ที่สร้างใหม่) ไปใช้งานกับเว็บไซต์

บทที่ 10 สร้าง FTP Site ที่หลากหลายกว่าเดิม

FTP เป็นอาวุธหนักอีกชิ้นหนึ่งที่ IIS 6 จัดให้เพื่อใช้ออกสมรภูมิรบไซเบอร์ อาวุธนี้มาพร้อมกับทางเลือกในการสร้าง FTP Site ได้ถึง 3 แบบ 3 สไตล์ รักชอบสไตล์ไหนย่อมแล้วแต่คุณตัดสินใจ แต่ขอเตือนว่าอย่าให้เกิดอาการรักพี่เสียดายน้องก็แล้วกัน!!!

  • 3 ประเภทของ FTP Site ใน IIS 6.0
  • Default FTP Site ต้องเป็นประเภท "รวมยูสเซอร์" เสมอ
  • ตั้งค่าคอนฟิก Default FTP Site ให้ถูกต้องก่อน
    • แท็บ FTP Site = เลือกไอพีแอดเดรส+พอร์ต
    • แท็บ Security Accounts = เลือกใช้หรือไม่ใช้ Anonymous
    • แท็บ Messages = เขียนข้อความต่างๆ ที่จะแสดงต่อยูสเซอร์
    • แท็บ Home Directory = กำหนดรูตไดเรกทอรี
    • แท็บ Directory Security = ช่วยสกัดกั้นบุคคลต้องห้าม
  • สร้าง FTP Site ประเภท "แยกยูสเซอร์" ไม่ให้ปนกัน
    • ต้องอาศัยเทคนิคการเพิ่ม FTP Site ตามไอพีแอดเดรส
    • ประเดิมทดสอบการใช้งานจากยูสเซอร์ในระบบ Windows ของเซิร์ฟเวอร์
    • ใช้ยูสเซอร์ Anonymous ทดสอบดูบ้าง
    • ทดสอบส่งท้ายด้วยยูสเซอร์ใน Active Directory
  • สร้าง FTP Site ประเภท "แยกยูสเซอร์โดยใช้ Active Directory"
    • ช่วงที่หนึ่ง เพิ่ม FTP Site โดยใช้ไอพีแอดเดรสใหม่ (อีกแล้ว)
    • ช่วงที่สอง เตรียมโฮมไดเรกทอรีให้แก่ยูสเซอร์
    • ช่วงที่สาม ตั้งค่าให้ยูสเซอร์รู้จักรูตไดเรกทอรีและโฮมไดเรกทอรี
    • ถึงรอบทดสอบขั้นสุดท้าย
  • สร้าง Virtual Directory เพื่อให้บริการ FTP

บทที่ 11 ส่งเมลด้วย SMTP รับเมลด้วย POP3

เจาะลึกตั้งแต่เบื้องหน้าจนถึงเบื้องหลังเซอร์วิสที่เกี่ยวกับการส่งและรับอีเมล อย่างหมดเปลือก และละเอียดที่สุดเท่าที่ผมจะทำได้ ทั้ง SMTP และ POP3 จนต้องขอกระซิบดังๆ ให้ผู้ดูแลระบบทั้งหลายได้ยินกันทั่วๆ ว่า "พลาดแล้วจะเสียใจไปทั้งชีวิต" (ว่าเข้านั่น)

  • ทำความเข้าใจการทำงานของ SMTP และ POP3
  • 2 แนวทาง 3 กรณี ในการใช้งานเมลเซิร์ฟเวอร์
  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนทดสอบ
    • ติดตั้งเซอร์วิส SMTP กันก่อน
    • ติดตั้งเซอร์วิส POP3 ตามลำดับต่อไป
    • ตั้งค่าคอนฟิกให้แก่เซอร์วิส POP3
    • สร้างโดเมนใหม่ที่ใช้ได้ทั้ง POP3 และ SMTP
    • สร้างเมลบ็อกซ์ให้แก่ยูสเซอร์
    • เพิ่ม DNS Record ให้แก่โดเมนของเมลเซิร์ฟเวอร์
  • ทดสอบทั้งการส่งเมลและการรับเมล
    • สร้างอีเมลแอ็กเคาต์ใน Outlook Express ที่จะใช้ทดสอบ
    • ทดสอบส่งเมล-รับเมลภายในโดเมนเดียวกัน
    • ทดสอบส่งเมลไปยังโดเมนอื่น (ออกสู่อินเทอร์เน็ต)
  • ตั้งค่าคอนฟิกของ Default SMTP Virtual Server
    • แท็บ General = กำหนดไอพีแอดเดรส+พอร์ต
    • แท็บ Access = ช่วยเพิ่มความปลอดภัย
    • แท็บ Messages = จำกัดโควต้าการส่งเมล
    • แท็บ Delivery = ควบคุมการส่งเมลสู่ภายนอก
    • แท็บ LDAP Routing = อะไรก็ไม่รู้?
    • แท็บ Security = แต่งตั้งผู้ดูแล SMTP Virtual Server
  • Local Domain กับ Remote Domain ต่างกันอย่างไร
  • สร้างโดเมนใหม่เองใน SMTP
  • เปรียบเทียบหน้าต่าง Properties ของ Local Domain 3 ประเภท
  • สร้าง Smart Host และตั้งค่าคอนฟิกให้พร้อม
  • ทดสอบการทำงานของ Smart Host

บทที่ 12 ทำศูนย์กระจายข่าวผ่าน NNTP

หมดสมัยแล้วสำหรับการปิดประกาศที่บอร์ดในองค์กรให้เปลืองกระดาษ เพราะในยุคดิจิตอลอย่างทุกวันนี้ คุณสามารถรวมข่าวป่าวประกาศทุกอย่างไว้ในที่เดียวกัน โดยทุกคนไม่ตกข่าว หรือจะทำเป็นที่รวบรวมความรู้ต่างๆ ก็ยังได้ นี่เป็นความสามารถของ NNTP ในการสร้างกลุ่มข่าว หรือ Newsgroup ที่คุณจะรู้จักในบทนี้

  • มีอะไรเกิดขึ้นมาใหม่หลังจากติดตั้ง NNTP
  • ตั้งค่าคอนฟิก Default NNTP Virtual Server
    • แท็บ General = เลือกไอพีแอดเดรส+พอร์ต
    • แท็บ Access = กำหนดเงื่อนไขการติดต่อเซิร์ฟเวอร์
    • แท็บ Settings = แลก/ไม่แลกข่าวกับเซิร์ฟเวอร์อื่น
    • แท็บ Security = แต่งตั้งผู้ดูแล NNTP Virtual Server
  • ทำอะไรกับ Newsgroup ได้บ้าง
  • ทดสอบการใช้บริการ NNTP ด้วย Outlook Express
  • ใช้ Expiration Policy เพื่อกำหนดอายุข่าว
  • เก็บ Newsgroup ใน Virtual Directory
    • มี Virtual Directory แรกแล้วตั้งแต่ติดตั้ง NNTP
    • ทดลองสร้าง Virtual Directory ใหม่
    • ตั้งค่าคอนฟิกสำหรับ Virtual Directory
  • ตรวจตราดูจาก Current Sessions ว่ามีใครใช้บริการบ้าง

บทที่ 13 รู้ลึกข้อมูล log ของแต่ละเซอร์วิส

การแกะรอยเป็นการวัดฝีมือและความสามารถของนายพราน การแกะ log (ไฟล์) ก็ถือว่าเป็นการวัดความสามารถของนายพรานไซเบอร์อย่างเราเช่นเดียวกัน ถ้าอยากเป็นนายพรานไซเบอร์ที่เก่งกาจกว่าคนอื่น เนื้อหาของบทนี้จะช่วยยกระดับฝีมือของคุณได้

  • เลือกบันทึกข้อมูล log ได้ 4 ฟอร์แมต 4 ประเภท
  • สำรวจโครงสร้างไดเรกทอรีของการเก็บไฟล์ข้อมูล log
  • ตั้งค่าคอนฟิกเกี่ยวกับข้อมูล log ให้ครบทุกเซอร์วิส
    • เริ่มต้นที่เซอร์วิส WWW
    • ตามด้วยเซอร์วิส FTP
    • ไล่มายังเซอร์วิส SMTP
    • ปิดท้ายกับเซอร์วิส NNTP
  • ใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล log แทนจะดีกว่า

บทที่ 14 รู้ช่องทางแบ็กอัปและกู้คืนค่าคอนฟิก

"อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจเทคโนโลยี" นี่เป็นสุภาษิตที่ผู้ดูแลระบบควรยึดถือเป็นคติประจำใจ เพราะว่าไม่มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดๆ ในโลก จะไม่มีโอกาสชำรุดหรือเสียหายเนื่องจากการใช้งาน ดังนั้นการแบ็กอัปและการกู้คืนข้อมูลจึงเป็นแม่ไม้สุดท้ายที่ผมอยากจะบอกคุณ

  • แบ็กอัป 3 ระดับ + กู้คืน 2 ระดับ
  • แบ็กอัปค่าคอนฟิกระดับเซิร์ฟเวอร์
  • กู้คืนค่าคอนฟิกจากการแบ็กอัประดับเซิร์ฟเวอร์
  • แบ็กอัปเฉพาะระดับโหนดหลักหรือระดับโหนดย่อยก็ได้...
  • ...แต่กู้คืนได้เฉพาะระดับโหนดย่อย

ดัชนี

แสดงรายการหนังสือ | สั่งซื้อหนังสือ


Copyrights © 2005-3005, Witty Group Co., Ltd.