คิดเอง+ทำเอง
อิเล็กทรอนิกส์แบบชาวบ้าน
เล่ม 1
How to order...Order now...
อภิเชษฐ์ การัยภูมิ175 บ.240 น.160 บ.

    หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับผู้สนใจอิเล็กทรอนิกส์แบบง่ายๆ ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา อ่านแล้วจะรู้ว่า อิเล็กทรอนิกส์ไม่ยากอย่างที่คิด

  • ทำอย่างไรให้อิเล็กทรอนิกส์ง่ายขึ้น? ภาคหนึ่ง "เทคนิคคิดสนุก" มีคำตอบ...
  • คันไม้คันมือ อยากลองสร้างวงจรใช้งานจริง เชิญอ่านภาคสอง "โครงงานจิ๋ว+แจ๋ว"
  • งานซ่อมทีวีไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถ อ่านคำแนะนำและประสบการณ์ได้จากภาคสาม "ใครๆ ก็ซ่อม (ทีวี) ได้"

ภาคหนึ่ง => เทคนิคคิดสนุก

บทที่ 1 SCR เป็นไฉน?

ถ้าท่านกำลังเสาะหาอุปกรณ์ที่ทำงานเป็นสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ได้ดี ใช้ง่าย ประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลาย ลองพิจารณาอุปกรณ์ที่ชื่อว่า SCR เสียก่อน แล้วอาจจะรู้สึกถูกใจเหมือนผมก็ได้

  • สัญลักษณ์ประจำตัว
  • ลองใช้งานสวิตช์เบาแรง
    • เบาแรงอย่างไร?
    • ไฟกระตุ้นเท่าไหร่จึงจะพอ?
    • ที่มาของค่า R1
    • การทำให้หยุดนำกระแส
  • ความเพียงพอที่ลงตัว
  • ทรานซิสเตอร์แทนได้สบาย
    • การทำงานของวงจร
  • ดัดแปลงสวิตช์เบาแรงไม่ยากเลย
  • พิจารณา SCR ให้ชัด
  • วิธีตรวจวัด

บทที่ 2 ดัดแปลงระบบเสียงทีวีรุ่นเก่า

ถ้าท่านมีทีวีเครื่องเก่าๆ แต่อยากให้เสียงดีเหมือนกับทีวีรุ่นใหม่ มาลองดัดแปลงตามวิธีของผมก่อนสิครับ แล้วท่านจะยิ้มออกแน่นอน :-)

  • ทำไมถึงไม่ช็อต?
  • เสียงดีหรือไม่?
  • สเตอริโอจริงหรือ?

บทที่ 3 แอมป์ตัวนี้กี่วัตต์?

หากมิตรถามท่านว่า แอมป์ตัวนี้กี่วัตต์ ท่านจะบอกเขาอย่างไร? ในบทนี้มีคำตอบที่ง่ายนิดเดียว

  • วัตต์ในความคิดของผม
  • เทคนิคการหาวัตต์
  • แอมป์ที่ดีควรจะ...

บทที่ 4 ตรวจวัดเจเฟตและมอสเฟตแบบลองเล่น

ยุคนี้อุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติเด่นระดับแนวหน้าชนิดหนึ่ง คงหนีไม่พ้นอุปกรณ์ประเภท "เฟต" (FET) ลองอ่านวิธีการวัดอปุกรณ์ชนิดนี้แบบเริ่มต้น เพื่อชิมลางก่อนลงมือจริง ซึ่งไม่ยากอย่างที่คิด

  • คุณสมบัติเบื้องต้น
  • วิธีตรวจวัดด้วยมัลติมิเตอร์แบบง่ายๆ
  • ยึดถือผลการวัดได้ไม่เต็มร้อย

บทที่ 5 ต่อหม้อแปลงเพื่อเพิ่มกระแส

ลองอีกเทคนิคหนึ่งในการเพิ่มกระแสให้แก่วงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้หม้อแปลงเป็นตัวจ่ายกระแส ทั้งง่ายและลงตัวชนิดที่ท่านจะต้องพึงพอใจ

  • ควรเพิ่มกระแสหรือเปล่า?
  • แนวคิดวงจรขนานเพิ่มกระแส
    • เปรียบเทียบกับการต่อแบตเตอรี่
  • เจอของดีช่วยแก้ปัญหาไฟตก
    • วิธีการเป็นอย่างนี้...
    • เพิ่มกระแสต่อ
    • ข้อควรระวัง

บทที่ 6 ต่อหลอด LED กับไฟบ้าน

ถ้าอยากนำหลอด LED มาต่อใช้งานกับไฟบ้าน ก็ต้องอาศัยเทคนิคกันหน่อย เพื่อความทนทาน สำหรับวิธีการก็ไม่ยุ่งยากอะไร แถมยังคุ้มค่าเป็นอย่างยิ่งทีเดียว

  • ลองต่อหลอด LED แบบง่ายๆ
  • เพิ่มระบบป้องกัน
  • เตือนเมื่อไฟรั่ว
  • ไฟแสดงผลควบบอกขั้วไฟบ้าน

บทที่ 7 ดัดแปลงมิเตอร์เป็นแบบไม่เริ่มจากศูนย์

ทำอย่างไรเมื่อต้องการอ่านค่ามิเตอร์เฉพาะช่วงที่สนใจ ? มาลองอ่านแนวความคิดที่แนะนำในบทนี้สิครับ แล้วท่านจะยิ้มออก และพูดกับตัวเองว่า "ง่ายอีกแล้ว"

  • แนวคิดจากซีเนอร์ไดโอด
  • เริ่มต้นที่ 1 โวลต์อย่างไร?
  • หาค่าอุปกรณ์
  • เทคนิคการปรับแต่ง
  • ลักษณะการนำไปใช้งาน

บทที่ 8 สลับการหมุนมอเตอร์ด้วยสวิตช์แบบง่ายๆ

เนื้อหาในบทนี้จะแนะนำเทคนิคการต่อสวิตช์เพื่อสลับขั้วไฟฟ้า มาควบคุมการหมุนของมอเตอร์ได้อย่างง่ายๆ ซึ่งเป็นวิธีที่ท่านอาจจะยังไม่เคยทราบมาก่อนก็ได้

  • ใช้สวิตช์โยก 3 จังหวะ
  • ทำความเข้าใจระบบ
  • อาศัยรีเลย์ช่วยให้เบาแรง

บทที่ 9 เทคนิควัดกระแสเกินย่านวัดปกติ

เมื่อจนปัญญาในการวัดกระแสที่มากเกินกว่าย่านวัดของมิเตอร์ทั่วไป เราจะทำอย่างไรดี? ปัญหานี้น่าคิดมากๆ มาลองอ่านเทคนิคของผมดูก่อนสิครับ แล้วจะรู้ว่าเป็นวิธีการง่ายๆ แต่ได้ผล...

  • ทำความเข้าใจการวัดกระแส
    • ไม่ต้องวัดก็รู้
    • แนวคิดจากการวัดแรงดัน
  • ค่า R เท่าไรดี
  • ดัดแปลงแอมป์มิเตอร์แบบง่ายๆ
  • คิดสูตรหา Rs ที่เหมาะสม
  • รู้ Rs แล้ว แต่...

บทที่ 10 เตรียมไฟสำรองให้โน้ตบุ๊กพิการ

หากระบบไฟสำรองของเครื่องโน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์มีปัญหา ท่านจะทำอย่างไรดี ที่สำคัญคือ ต้องเป็นวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและราคาด้วย

  • ไฟสำรองในวิทยุเทป
  • ไฟสำรองกับโน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์
    • เกิดปัญหาเพราะไม่มีไฟสำรอง
    • ทางแก้ปัญหา
  • ข้อควรปฏิบัติ (จุดด้อยที่พอรับได้)

ภาคสอง => โครงงานจิ๋ว+แจ๋ว

บทที่ 11ไฟกะพริบตามเสียงเพลงทำเอง

เรียนรู้แนวคิดของวงจรไฟกะพริบตามเสียงเพลงแบบง่ายๆ โดยใช้ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์พื้นๆ แต่ได้ผลดี สามารถต่อยอดไปได้อีกหลากหลายครับ

  • ได้แนวความคิดมาจากไหน?
  • ตรวจแรงดันขั้นต้น
    • วงจรน่าสร้าง
  • วงจรเพิ่มแรงดัน 2 เท่า
    • ยังมีอีก
  • ไฟกะพริบตามเสียงเพลงรูปดาว
    • ลงมือสร้าง
    • รายการอุปกรณ์สำหรับสร้างวงจร
  • ไฟวูบวาบ
    • ลักษณะของวงจร
    • ลงมือสร้าง
    • รายการอุปกรณ์สำหรับสร้างวงจร
  • ลองคิดต่อ

บทที่ 12 ชุดตรวจแร่คริสตัลสะดวกใช้

ถ้าอยากทราบว่า แร่คริสตัลมีปัญหาหรือไม่ เราจะทำอย่างไรดี ลองดูชุดตรวจนี้ก่อนสิครับ ทั้งง่ายและราคาถูก (อีกแล้วครับท่าน)

  • แนวความคิด
  • วงจรและการทำงาน
    • ทดลองวัด
    • อยากดูรูปคลื่นสัญญาณ
  • วัดตัวเก็บประจุได้ด้วย
    • รายการอุปกรณ์สำหรับสร้างวงจร

บทที่ 13 ชุดตรวจรีโมตคอนโทรลอย่างง่ายแต่ได้ผล

อยากตรวจสอบรีโมตคอนโทรลให้ได้ผลดี ลองใช้ชุดตรวจนี้แล้วจะประทับใจแน่ๆ เพราะลักษณะการตรวจสอบเสมือนใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าจริง ใช้ได้กับรีโมตทุกยี่ห้อ ทุกรุ่น วิธีสร้างก็ง่ายและใช้งบประมาณน้อยนิดเอง

  • แนวความคิด
  • วงจรและการทำงาน
    • รายการอุปกรณ์สำหรับสร้างวงจร

บทที่ 14 เครื่องตรวจขั้วไฟอเนกประสงค์

ตรวจขั้วไฟฟ้าอย่างไรให้สะดวก แม้แต่กรณีที่มีแรงดันน้อยๆ ก็ยังวัดได้ เครื่องที่ผมจะแนะนำในบทนี้นี้ ทั้งง่ายและถูกกว่ามิเตอร์ทั่วไป น่าสร้างไว้ใช้จริงๆ ครับ (ประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลายเช่นกัน)

  • แนวความคิด
  • วงจรและการทำงาน
    • รายการอุปกรณ์สำหรับสร้างวงจร

บทที่ 15 วงจรเสียงออดสะท้านหู

เรียนรู้เทคนิคการนำอุปกรณ์เก่าๆ มาสร้างวงจรเสียงออดเล็กๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างไม่จำกัด

  • วงจรและการทำงาน
    • ช่วงแรก
    • ช่วงสอง
    • รายการอุปกรณ์สำหรับสร้างวงจร

บทที่ 16 เครื่องจ่ายไฟรุ่นลายคราม

ชุดวงจรนี้ผมใช้มานานนับสิบปีแล้ว ขณะนี้ก็ยังใช้งานได้ดีอยู่ มีไอซีเป็นหัวใจหลัก จึงสร้างง่าย ระบบดีใช้ได้ ท่านลองนำไปสร้างดูนะครับ แล้วจะประทับใจแบบถาวรเหมือนผม...

  • วงจรและการทำงาน
    • ส่วนจ่ายไฟตรง
    • ส่วนรักษาแรงดันคงที่
  • จุดอ่อนและข้อแนะนำสำหรับวงจรนี้
    • รายการอุปกรณ์สำหรับสร้างวงจร
  • ปัญหาในการประกอบวงจร

บทที่ 17 ชุดกันขโมยรุ่นประหยัด

กันไว้ดีกว่าแก้ หากท่านกังวลกับความปลอดภัยในทรัพย์สินของตัวเอง ว่าอาจจะมีผู้ไม่หวังดีมาขโมยเอาไป ผมมีชุดวงจรกันขโมยมาอวด ง่ายและคุ้มค่าจริงๆ ใครๆ ก็สร้างได้ แก้ปัญหาได้อย่างอุ่นใจครับ

  • แนวความคิด
  • วงจรและการทำงาน
    • ข้อสังเกต
    • รายการอุปกรณ์สำหรับสร้างวงจร

บทที่ 18 แอมป์จิ๋วหลงยุค

ไม่ว่ามือใหม่หรือมือเก่า ถ้าอยากมีวงจรขยายเสียงขนาดเล็กสักชุด ลองดูวงจรแอมป์จิ๋วชุดนี้ได้เลย ผมใช้ประจำมานานปีแล้ว ทั้งสร้างง่ายและราคาไม่แพงตามสไตล์ของผมครับ

  • ทำความเข้าใจวงจรและการทำงาน
    • แอมป์จิ๋วขั้นต้น
    • แอมป์จิ๋วขั้นน่าฟัง
    • รายการอุปกรณ์สำหรับสร้างวงจร

บทที่ 19 ชุดจ่ายไฟตรงคงที่ 12V รุ่นหนังเหนียว

หากท่านกำลังหาชุดวงจรจ่ายไฟตรงคงที่ ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ล้วน จ่ายกระแสและแรงดันได้สูง ออกแบบได้ตามต้องการ มีระบบป้องกันที่ดีพร้อม ทำให้ทนทานยิ่งนัก มาลองชุดวงจรรุ่นหนังเหนียวของผมแล้วจะชอบครับ

  • ทำความเข้าใจวงจรและการทำงาน (ตามสไตล์ของผม)
  • ส่วนจ่ายไฟตรง
  • ส่วนรักษาระดับไฟคงที่
    • จุดชนวนอย่างไร?
    • นิ่มๆ ด้วย C2
    • ไฟไม่คงที่
    • กรณีแรงดันต่ำลง ระบบจะเป็นอย่างไร?
    • แต่ในกรณีแรงดันสูงขึ้นล่ะ...รู้แล้วจะหนาว
    • หาผู้คุมมาช่วยสิ
    • คุมไฟอย่างไร?
    • ทำไมจึงหนังเหนียวนัก?
    • ความจุแค่ไหนก็ไม่เสียหาย
    • คำนวณหาค่าอุปกรณ์
    • รายการอุปกรณ์สำหรับสร้างวงจร

บทที่ 20 ปรีไมค์แบบ "สมรม"

หากท่านต้องการวงจรปรีไมค์ที่มีคุณภาพดี สร้างง่าย ใช้อุปกรณ์พื้นๆ ที่หาไม่ยาก สามารถแกะจากของเก่ามาสร้างได้อย่างลงตัว ลองวงจรปรีไมค์ชุดนี้ แล้วท่านจะรู้ว่า ใช่เลย...

  • พิจารณาวงจรการทำงาน
  • ลงมือสร้าง+ทดสอบประสิทธิภาพ
    • รายการอุปกรณ์สำหรับสร้างวงจร
  • นำไปประยุกต์ใช้

บทที่ 21 เร่งสปีดรถกระป๋องสไตล์ลุงเชย

"คุณลุงดัดแปลงรถกระป๋องให้วิ่งเร็วขึ้นได้ไหมฮะ ?" เด็กๆ แถวบ้านเคยเอ่ยถามผมอย่างนี้ ลองอ่านบทนี้ดูก่อนเถอะครับ แล้วหลานๆ จะรักท่านยิ่งขึ้นอีกมาก

  • แนวความคิด
  • ทำความเข้าใจการทำงาน
  • หลักการเดิมที่ได้ผลดี
  • ติดเทอร์โบกันเลยหลาน
  • แค่นี้ยังไม่พอ

บทที่ 22 ชุดชาร์จถ่านไม่ชาร์จแพง

หากท่านต้องการเครื่องชาร์จถ่านสักเครื่อง ช้าก่อน...อย่าเพิ่งซื้อ ลองชุดชาร์จถ่านนี้ก่อนครับ ใช้อุปกรณ์แค่ไม่กี่ชิ้น แต่ชาร์จไฟได้เต็มประสิทธิภาพ โดยไม่ชาร์จเงินจากกระเป๋าของท่านเลย

  • คุณลักษณะของถ่านชาร์จ
  • ชาร์จไฟอย่างไรให้เหมาะสม?
  • แนวความคิด
  • กระแสคงที่อย่างไร?
  • วงจรชาร์จถ่านที่ถูกใจ
  • ลงมือสร้างได้แล้ว!
  • ทดลองนำไปใช้งาน
    • รายการอุปกรณ์สำหรับสร้างวงจร

บทที่ 23 ออกแบบไฟฉุกเฉินด้วยอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว

มิตรท่านใดต้องการระบบไฟฉุกเฉิน ไฟบ้านดับปุ๊บ มีหลอดไฟติดให้แสงสว่างทันที สะดวกยิ่งนัก ลองสร้างไฟฉุกเฉินที่ผมออกแบบไว้ในบทนี้ แล้วท่านจะพบคำตอบที่ลงตัว

  • แนวความคิดเบื้องต้น
  • คิดวงจร 2 ส่วนโดยอาศัยอุปกรณ์เก่า
    • รายการอุปกรณ์สำหรับสร้างวงจร
  • ให้เพื่อนสร้างและทดลองใช้งาน

ภาคสาม => ใครๆ ก็ซ่อม (ทีวี) ได้

บทที่ 24 ทำความเข้าใจงานซ่อมทีวี

งานซ่อมทีวีเป็นงานช่างที่น่าสนใจ หลายๆ ท่านคงอยากยึดเป็นอาชีพหลัก ลองอ่านบทนี้ก่อน แล้วท่านจะเข้าใจลักษณะงานนี้ดีขึ้นครับ

  • สารพัดปัญหางานซ่อม
  • คิดว่าคือทางออก
  • วิธีคิดค่าซ่อมของเพื่อนช่าง
  • งานที่รักยิ่งกว่างานซ่อม
  • ขออภัยล่วงหน้าที่ช่วยได้ไม่มาก
  • ข้อควรระวังในงานซ่อมทีวี
    • ระวังไฟดูด
    • ระวังทำพัง
  • เสียแบบไหน-ช่างชอบ

บทที่ 25 ตัวอย่างอาการเสียแบบที่ซ่อมง่ายนิดเดียว

ลองดูตัวอย่างอาการเสีย 2-3 แบบที่คาดว่าท่านต้องเจอแน่ หากซ่อมทีวีเก่าๆ รุ่นโบราณ ถือเป็นการอุ่นเครื่องก่อนที่จะลุยฝึกตัวอย่างงานซ่อมอาการสารพัดในบทหลังๆ

  • อาการภาพเบลอๆ เสียงปกติ
    • ขั้นตอนการตรวจซ่อม
    • เจอตัวปัญหาแล้ว!
  • อาการภาพไม่เต็มจอทั้งสี่ด้าน+มีเสียงดังซ่าๆ
    • ขั้นตอนการตรวจซ่อม
    • เจอตัวปัญหาแล้ว!

บทที่ 26 ว่าด้วยภาคจ่ายไฟ 100V

จุดยุทธศาสตร์ของทีวีอยู่ที่ภาคจ่ายไฟ ว่ากันว่าหากใครซ่อมจุดนี้ได้ แสดงว่าเก่งกาจถึงขั้นสามารถเปิดร้านเป็นเรื่องเป็นเป็นราวได้เลยทีเดียว

  • การสวิตชิ่งเพื่อลดไฟ
  • หม้อแปลงสำคัญนัก
  • อะไรมีผลต่อพลังด้านขาออก?

บทที่ 27 ทีวีซิงเกอร์ยอดนิยมซ่อมไม่ยาก

ทีวีสียี่ห้อนี้นิยมใช้กันมากในต่างจังหวัด อาการเสียแบบจอมืดไม่มีเสียงที่ผมจะยกตัวอย่างในบทนี้ ก็เป็นอาการที่มีโอกาสเจอบ่อย วิธีตรวจซ่อมก็ง่ายแสนง่าย เป็นระบบดีครับ

  • ขั้นตอนการตรวจซ่อม
    • ดูภาพรวม
    • ไฟเกินอันตราย
    • ภาคฮอร์อยู่ตรงไหน?
    • วิเคราะห์สาเหตุไฟเกิน
  • พยายามทำความเข้าใจวงจร
    • พบอุปกรณ์ใหม่
    • การค้นหาต้นตอ
    • เจอตัวปัญหาแล้ว!
  • ลองคิดต่อ

บทที่ 28 หัวใจสำคัญอยู่ที่ภาคฮอร์

อีกภาคหนึ่งที่สำคัญและซับซ้อนมากในวงจรทีวี คือ ภาคฮอร์ การทำงานของภาคนี้คล้ายกับภาคจ่ายไฟ มีระบบการทำงานที่เกี่ยวข้องกับภาคอื่นๆ ทั้งเครื่องก็ว่าได้ครับ

  • สำคัญอย่างไร?
  • แนะนำอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้
    • ทรานซิสเตอร์ฮอร์เพาเวอร์หรือฮอร์เอาต์พุต (Q1)
    • ฟลายแบ็ก (Flyback) (FBT)

บทที่ 29 อาการทีวีเป็นพิษที่พบได้บ่อย

บทสุดท้ายนี้ ผมระดมตัวอย่างการซ่อมทีวีแบบง่ายๆ มานำเสนออย่างยาวเหยียด โดยรวบรวมจากอาการที่ผมเจอบ่อยๆ ซึ่งปรากฏว่าซ่อมได้และใช้ได้ดี ทำให้เจ้าของทีวีปลื้มใจกันทั่วหน้า ค่าอะไหล่ไม่แพง วิธีการซ่อมก็เป็นไปตามประสบการณ์ของผม สามารถแนะนำมิตรไปลองฝึกซ่อมเองด้วยครับ

  • ภาพเป็นสีขาวลางๆ ทั้งๆ ที่เสียงปกติดี
  • สีเพี้ยน แดงบ้าง เขียวบ้าง บางทีเป็นๆ หายๆ
  • จอมืดเป็นๆ หายๆ แต่เสียงปกติดี
  • ภาพสีสดเป็นด่างๆ ไม่มีสีขาว
  • ภาพเลื่อนในแนวนอน เป็นบ้าง ไม่เป็นบ้าง
  • ภาพกลายเป็นเส้นเดียวกลางจอ
  • ไม่มีเสียง แต่มีภาพปกติ
  • ปัญหาอันเกิดจากสวิตช์เลือกช่อง

แสดงรายการหนังสือ | สั่งซื้อหนังสือ


Copyright © 2000-2005 Witty Group Co., Ltd.