ครบเครื่อง CGI เพื่อจัดเก็บข้อมูล
3 แบบ 3 สไตล์
How to order...Order now...
ทรงเกียรติ ภาวดี295 บ.378 น.260 บ.
  • เป็นหนังสือภาษาไทยเล่มแรก ที่อธิบายแนวคิดและวิธีการเขียนสคริปต์ CGI เพื่อจัดการกับฐานข้อมูลอย่างละเอียดที่สุด พร้อมตัวอย่างการใช้งานจริงตลอดเล่ม
  • ปูพื้นฐานตามหลักการเขียนสคริปต์ เพื่อจัดการฐานข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต และอินทราเน็ตที่นักพัฒนา และนักเขียนโปรแกรมต้องเรียนรู้และเข้าใจให้ถูกต้องก่อน
  • เปิดเผยเทคนิคการจัดการ และจัดเก็บข้อมูล เช่น เขียนสคริปต์ตัดคำหยาบ, ค้นหาข้อมูลอย่างรวดเร็ว, แยกข้อมูลเก็บลงไฟล์ รวมทั้งชี้ให้เห็นจุดอันตรายต่างๆ และวิธีการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น
  • มีตัวอย่างสคริปต์ที่นำไปใช้ทันที เช่น ระบบสมาชิก, mailing list, guest bood ฯลฯ ซึ่งใช้ได้ทั้งเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นระบบ UNIX และ Windows ไม่ว่าเซิร์ฟเวอร์ที่เสียเงินเช่า หรือใช้ฟรีอย่าง hypermart.net virtualave.net โดยสามารถดาวน์โหลดสคริปต์ทั้งหมดได้ที่ www/witty.net

บทที่ 1 เลือกใช้ Apache เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์

Apache เป็นโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่น่าสนใจอีกโปรแกรมหนึ่ง เพราะเป็นของฟรีที่มีการนำไปใช้งานแพร่หลายมากที่สุด ในบทนี้จะอธิบายการติดตั้ง Apache เวอร์ชันสำหรับ Windows เพื่อสร้างเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์สำหรับทดลองรันสคริปต์ CGI รวมทั้งทำความเข้าใจวิธีการปรับแต่งค่าต่างๆ ของ Apache ด้วย

  • ติดตั้ง Apache
  • สำรวจไดเรกทอรีของ Apache
  • รัน Apache ครั้งแรก
  • หยุดการทำงานของ Apache
  • ไดเรกทีฟที่สำคัญ
  • สคริปต์ CGI กับ Apache

บทที่ 2 ตั้งต้นจากระบบเก็บข้อมูลแบบ text

หากเริ่มต้น หรือคิดที่จะเขียนสคริปต์เพื่อจัดเก็บข้อมูลการจัดเก็บแบบ text เป็นวิธีแรกที่ผู้อ่านควรรู้จัก และทำความเข้าใจก่อน เพราะสามารถนำไปประยุกต์ใช้เก็บข้อมูลได้สารพัด เนื้อหาในบทนี้จึงแจกแจงวิธีเขียนสคริปต์จัดการข้อมูลแบบ text พร้อมทั้งแนะนำเทคนิค และชี้ให้เห็นจุดอันตรายต่างๆ ของการเก็บข้อมูลวิธีนี้ด้วย

  • ลักษณะของไฟล์แบบ text
  • สารพัดวิธีสร้างไฟล์แบบ text
  • หลักการพื้นฐานของการติดต่อไฟล์
  • ทำไมต้องล็อคไฟล์
  • จะล็อค หรือปลดล็อคได้อย่างไร
  • ตัวอย่างข้อมูลที่จะใช้
  • อ่านข้อมูลมาแสดง
  • เรียงลำดับข้อมูลก่อนนำไปแสดง
  • แกะข้อมูลแยกเป็นฟิลด์
  • ใช้ตารางบังคับการแสดงผล
  • จำเป็นต้องแกะครบทุกตัวหรือไม่
  • ระวังท้ายบรรทัดมีรหัสลงบรรทัดใหม่พ่วงอยู่
  • เลือกตัวคั่นฟิลด์อย่างไร
  • การค้นหาข้อมูล
  • ค้นหาทุกอย่างทุกรูปแบบในสคริปต์เดียว
  • การเพิ่มข้อมูลลงไฟล์
  • ลบข้อมูลออกจากไฟล์
  • อันตรายที่แฝงอยู่
  • การแก้ไขข้อมูล
  • การจัดเรียงลำดับข้อมูล
  • ก่อนจบบท

บทที่ 3 User Authentication เพื่อความปลอดภัย

User Authentication เป็นวิธีการหนึ่งที่บังคับให้ผู้ใช้ต้องป้อน User Name และรหัสผ่านก่อนเข้าไปใช้งานในไดเรกทอรีต่าง ๆ ของเซิร์ฟเวอร์ โดยมีการจัดเก็บข้อมูล และรหัสผ่านของผู้ใช้ในรูปแบบ text หัวใจสำคัญของบทนี้ จึงเป็นการประยุกต์ความรู้จากบทที่ผ่านมา เพื่อสร้างระบบช่วยจัดการข้อมูล User Name และรหัสผ่าน ซึ่งผู้ดูแลระบบสามารถนำไปใช้งานโดยเฉพาะ

  • หลักการของ User Authentication
  • สร้างไฟล์ .htaccess
  • โปรแกรมเข้ารหัสให้กับรหัสผ่านของ Windows
  • โปรแกรมเข้ารหัสให้กับรหัสผ่านของ UNIX
  • ทดสอบ User Authentication
  • เพิ่ม User Name ลงในไฟล์ .htpasswd
  • เขียนสคริปต์จัดการ User Name และรหัสผ่าน
  • ทดลองใช้สคริปต์ใน Windows
  • User Authentication ของเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการโฮมเพจฟรี
  • แอบดู .htaccess และ .htpasswd
  • ก่อนจบบท

บทที่ 4 แง่มุมที่ไม่ธรรมดาของ guest book

guest book เป็นสคริปต์ยอดนิยมอันดับต้นๆ ที่ถูกหยิบยกมาใช้เป็นตัวอย่าง สำหรับการเขียน CGI ซึ่งคนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นสคริปต์ที่ไม่มีอะไรยาก หรือน่าสนใจศึกษา แต่ในบทนี้จะอธิบายให้ทราบถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับ guest book อย่างเช่น การตรวจสอบและเซ็นเซอร์คำหยาบ อันเป็นเรื่องที่มองข้ามหรือละเลยไม่ได้

  • guest book ของง่ายๆ แต่อาจไม่ง่าย
  • วางโครงการของ guest book
  • guest book เวอร์ชันแรก (CGI ล้วนๆ)
  • ข้อเสียของเวอร์ชัน 1
  • วางโครงการสคริปต์เวอร์ชัน 2
  • guest book เวอร์ชัน 2 (HTML + CGI)
  • "\n" และ "\t" จะปนมากับข้อมูลได้อย่างไร
  • ตัดคำหยาบออกจากข้อความ
  • ไม่มีสคริปต์ป้องกันคำหยาบได้ 100%
  • เก็บ IP แอดเดรสของผู้ที่โพสต์ข้อความ
  • ก่อนจบบท

บทที่ 5 ระบบปรับปรุงข่าวสาร แยกไฟล์ดีกว่ารวมไฟล์

โจทย์ปัญหาง่ายๆ เพียงแค่เก็บข้อมูลข่าวสารไว้ในไฟล์ เพื่อเรียกไปแสดงในเว็บเพจ แต่เมื่อจะเขียนสคริปต์จริง สามารถออกแบบการจัดเก็บได้หลากหลายวิธี ในบทนี้จะแสดงให้เห็นวิธีนำข้อมูลของแต่ละเรคอร์ดไปเก็บบันทึกลงไฟล์หลายๆ ไฟล์แยกจากกัน แทนที่จะเก็บรวมอยู่ในไฟล์เดียว โดยมีเป้าหมายเพื่อความรวดเร็วในการค้นหา และการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล

  • โจทย์ปัญหาง่ายๆ
  • วิเคราะห์แบบง่ายๆ
  • วิเคราะห์อีกขั้นที่ลึกกว่า
  • สร้างหรือแก้ไขข้อมูล
  • แก้ไขหรือลบข้อมูล
  • นำข้อมูลไปแสดงทางเว็บเพจ
  • ข้อเสียของการเก็บข้อมูลแยกเป็นไฟล์
  • ก่อนจบบท

บทที่ 6 จัดการระบบสมาชิกตามสไตล์ DBM

ข้อมูลหลายอย่างของระบบ UNIX ได้ถูกจัดเก็บแบบ DBM ซึ่งทำให้ค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากกว่าแบบ text แต่กลับไม่ค่อยมีใครเอ่ยถึง บทนี้จึงนำเสนออีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการเขียนสคริปต์จัดเก็บข้อมูลแบบ DBM โดยนำระบบสมาชิกมาเป็นกรณีศึกษา

  • DBM คืออะไร
  • แนวคิด และการทำงานของ DBM
  • อาร์เรย์แบบ Associative
  • เก็บข้อมูลลงไฟล์
  • ดึงข้อมูลมาแสดง และจัดเรียงลำดับ
  • แก้ไขข้อมูล
  • ลบข้อมูล
  • เพิ่ม-ลบ-แก้ไขใน CGI ตัวเดียว
  • ระบบจัดการสมาชิกที่ดีกว่า
  • กำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นก่อน
  • การออกแบบทางเทคนิค
  • สคริปต์มีอะไรบ้าง
  • ศูนย์รวมโปรแกรมย่อย
  • register.cgi สมัครสมาชิก
  • adminedit.cgi แก้ไขข้อมูลสมาชิก
  • admindel.cgi ลบข้อมูลสมาชิก
  • adminlist.cgi แสดงข้อมูลสมาชิก
  • adminsearch.cgi ค้าหาข้อมูลสมาชิก
  • ใช้งานง่ายขึ้นด้วยเฟรม
  • แนวทางการปรับปรุงให้ดีขึ้น
  • ป้องกันผู้ใช้ทำงานเป็น admin
  • ตรวจสอบโครงสร้างอีเมลที่ป้อนเข้ามา
  • บังคับให้ป้อนอีเมลจริง
  • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
  • ตัวอย่างการใช้งาน account
  • อย่าลืมเรื่องการล็อคไฟล์
  • ก่อนจบบท

บทที่ 7 ลองทำ mailing list แบบแหวกแนว

ระบบ mailing list ที่นักสร้างเว็บและนักท่องเว็บคุ้นเคย มักใช้วิธีจัดเก็บข้อมูลแบบ text แต่ในบทนี้จะเป็นการฉีกแนวออกจากกระแสนิยม มาลองจัดเก็บข้อมูลสำหรับระบบ mailing list แบบ DBM กันบ้าง ทั้งนี้เพื่อให้เห็นแนวทางการประยุกต์เอาความรู้เรื่อง DBM จากบทที่แล้วมาใช้งาน

  • วางโครงการเขียน mailing list
  • index.html แสดงฟอร์มรับข้อมูลจากผู้ใช้
  • config.cgi เก็บตัวแปร+โปรแกรมที่ใช้บ่อย
  • subscribe.cgi รับสมัครหรือรับเลือกสมาชิก
  • maillist.cgi แสดงรายชื่ออีเมลเป็นหน้าๆ
  • mailsearch.cgi ค้นหาอีเมลแอดเดรสได้ดังใจ
  • mailsend.cgi กระจายข่าวให้เหล่าสมาชิก
  • คำแนะนำและคำเตือน
  • ก่อนจบบท

บทที่ 8 ทำงานได้ยืดหยุ่นกว่า ถ้าติดต่อผ่าน ODBC

ODBC เป็นเทคนิคที่ทำให้การจัดการฐานข้อมูลต่างๆ ง่ายขึ้น บทนี้จึงเสนออีกแนวทางหนึ่งของการเขียนสคริปต์จัดการกับฐานข้อมูล MS Access ผ่าน ODBC และทดลองให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของ ODBC ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบฐานข้อมูลจาก MS Access เป็นฐานข้อมูลแบบอื่น โดยที่ไม่มีการแก้ไขสคริปต์ CGI เลย

  • สร้างแฟ้มข้อมูลสำหรับทดลอง ODBC
  • สร้าง DSN
  • ขั้นตอนการติดต่อกับ ODBC
  • เรียกข้อมูลมาแสดง
  • เรียกข้อมูลบางฟิลด์มาแสดง
  • ตรวจสอบความผิดพลาดจากการทำงาน
  • เขียนตรวจสอบความผิดพลาดเอง
  • เขียนสคริปต์แยกเป็น library
  • นำข้อมูลมาแสดง (อีกครั้ง)
  • เขียนข้อมูล
  • ลบข้อมูล
  • แก้ไขข้อมูล
  • คลิกเพื่อแก้ไขหรือลบข้อมูล
  • ค้นหาข้อมูล
  • ลอง ODBC กับ text
  • ลอง ODBC กับ Excel
  • ก่อนจบบท

ภาคผนวก กลวิธีสร้างฟอร์มเพื่ออัปโหลดไฟล์ผ่านเบราเซอร์

  • สคริปต์ทำงานอย่างไร
  • ตรวจสอบการอัปโหลด
  • อัปโหลดหลายไฟล์พร้อมกัน
  • กำหนดรูปแบบของไฟล์ที่จะอัปโหลด
  • ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น

แสดงรายการหนังสือ | สั่งซื้อหนังสือ


Copyright © 2000, Witty Group Co., Ltd.